“วิถีแห่งปราชญ์” โดย สิญจน์ สวรรค์เสก

July 30, 2008 at 1:37 am

.
.

“วิถีแห่งปราชญ์”

คำพูดประโยคนี้ช่างยิ่งใหญ่ซะเหลือเกิน เหมือนกับว่าคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ จะไม่สามารถปีนป่ายตะเกียกตะกายไปบนทางเส้นนั้นได้

แต่…

บุคคลท่านหนึ่งที่ผมกำลังจะนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของท่าน (คัดลอกจากหนังสือ “วิถีแห่งปราชญ์”) มาเล่าฝากเพื่อนพ้องน้องพี่แถวนี้ให้ได้อ่านกันด้วยนั้น ท่านกลับเป็นคนธรรมดา ที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและธรรมดามาก (ม๊าก มาก)

ความธรรมดาของท่านนั้นปานประหนึ่งแผ่นดิน ที่วางเฉยต่อความหอมของลาภยศชื่อเสียง ยิ้มรับกับเสียงนินทาเน่าเหม็นที่สาดเทออกจากปากของคนที่ไม่ชอบได้อย่างสบ๊าย สบาย

ท่านยังคงทำหน้าที่แผ่นดินดีได้อยู่ตลอดเวลา คอยผลิตลูกผลแห่งปัญญาออกมาให้แด่พุทธศาสนิกชนได้เก็บเกี่ยวกินอย่างไม่รู้สิ้น

นามของท่านคือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

ในบรรดาพระเถระครูบาอาจารย์กระเดื่องนามในประเทศไทย โดยส่วนตัวของผมแล้ว (ย้ำว่าเป็นความเห็นส่วนตัว) ผมมีวิธีแบ่งหมวดหมู่ครูบาอาจารย์อยู่ 4 แบบ คือ

1. พระผู้รู้ – ท่านเหล่านี้โดยมากจะเป็นพระที่อยู่สันโดษในป่าเขา ที่รู้จริงเห็นแจ้งในสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งมวลตามความเป็นจริง จริงๆ บางรูปบางนามอาจจะมีนามกระเดื่องให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้รับรู้ กราบไหว้ แต่ก็มีอีกหลายท่าน ที่อยู่เงียบๆ ไม่ยุ่งกับเรื่องของโลกสักเท่าใดนัก โดยมากท่านเหล่านี้มักไม่เน้นการศึกษาตามตำรับตำรา แต่จะยึดพระวินัยเป็นหลักเกณฑ์ และใช้ชีวิตจิตใจของตนเป็นตู้พระธรรม เปิดอ่านค้นคว้าสภาวะธรรมทั้งหลายกันเลย

2. พระนักปราชญ์ – ท่านเหล่านี้โดยมากจะเป็นพระที่เน้นปริยัติ มีการค้นคว้าตำรับตำราอยู่เสมอ รู้ประวัติศาสตร์โดยรวมของโลก รู้ความเป็นไปต่างๆ ของโลกในขณะปัจจุบัน และรู้วิเคราะห์ธรรมะให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีน้อยท่านนักที่คู่ควรกับคำว่า “ปราชญ์แท้”

3. พระนักปรัชญา – ท่านเหล่านี้จะเป็นแบบกึ่งๆ (คล้ายกับคำว่า “ปรัชญา” นั่นเอง คือ ลึกซึ้ง คมคาย แต่จับต้องไม่ได้) กึ่งทั้งปริยัติและปฏิบัติ กึ่งทั้งบ้านและป่า พระนักปรัชญานี้ มักจะเป็นที่เคารพนับถือของนักคิด นักเขียน กวีทั้งหลาย เพราะคำเทศน์คำสอนมีความละเมียดละไมลึกซึ้ง เน้นความว่าง สูญตา ตถตา ซึ่งเป็นธรรมะชั้นสูง แต่พอไม่เน้นมรรค หรือว่าเน้นข้อวัตรปฏิบัติที่จะทำให้เข้าถึงคำนั้นๆ ได้อย่างเป็นระบบ คำสอนของท่านจึงเป็นคล้ายกับหลักปรัชญาที่สูงค่า ล้ำลึก แต่เข้าถึงได้ทางความคิดเท่านั้นเอง (ภาษาจิ๊กโก๋ข้างกำแพงเรียกว่า “วิปัสสนึก” ไม่ถึง “วิปัสสนา”)

4. พระเกจิคณาจารย์ – คือพระที่เด่นดังขึ้นมากับวัตถุมงคล หากนึกถึงท่านเหล่านั้น ผู้คนทั้งหลายจะนึกถึงพระเครื่องรุ่นโน้น วัตถุมงคลรุ่นนี้ ตะกรุด ผ้ายันต์ รดน้ำมนต์ พ่นน้ำมันต์ สักกระหม่อม เขกกะบาล ซะมากกว่าที่จะนึกถึงหลักพระธรรมคำสอน

ด้วยความเขลาและปัญญาเท่าหางเต่าของผม ผมเคยคิดเอาเองอีกว่า หลวงพ่อประยุทธ์ท่านเป็นพระนักปราชญ์ที่เก่งตำรับตำรา เชี่ยวศัพท์ ช่ำชองภาษาศาสตร์มาก แต่พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้มุมมองของผมที่มีต่อท่านเปลี่ยนไป เพราะวัตรปฏิบัติของท่านนั้นลึกซึ้งมากกว่าคำว่า “ปราชญ์แท้” ตามความหมายเดิมของผม (ก้อบอกแล้วว่าผมคิดมั่วเอาเอง)

ว่ากันว่า “สภาวะความเป็นปราชญ์ก็เหมือนกับการเป็นเศรษฐี ที่ไม่มีใครมาแต่งตั้งให้กันได้ หากแต่คุณสมบัติ หรือว่า “ความมี ความเป็น” ที่มีอยู่แล้วนั่นต่างหาก จะเป็นตัวแต่งตั้งด้วยสภาวะนั้นๆ ด้วยตัวของมันเอง”

ประโยคคำพูดข้างบนนี้ คือข้อหักล้าง “ประเภทพระ” ทั้งหมด ที่ผมอุ๊บอิ๊บ แอบตั้งขึ้นมาเอง เพราะท่านเหล่านั้นจะเป็นใคร หรือจะเป็นอะไรนั้น ก็เป็นเรื่องของสภาวะส่วนบุคคลไปนั่นแลขอรับ ไม่เกี่ยวกับใครที่ไหนดอก

กลับมาเข้าเรื่องหลวงพ่อประยุทธ์กันต่อดีกว่า

หากเอ่ยถึงประวัติของหลวงพ่อประยุทธ์ ผมก็จะรู้แค่ว่า ท่านเป็นชาวศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ป่วยกระเสาะกระแสะตั้งแต่เด็ก จนพี่ชายชวนบวชตั้งแต่อายุ 12 ขวบ ที่วัดบ้านกร่าง สอบเปรียญธรรมเก้าประโยคได้ตั้งแต่เป็นเณร จึงได้รับการอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นนาคหลวง บวชที่วัดพระแก้ว ในหลวงกับราชินีทรงเสด็จไปเป็นองค์ประธานการอุปสมบท

นอกจากสมณศักดิ์ทางพระที่ได้รับอยู่เรื่อยๆ แล้ว ท่านยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย และจากมหาวิทยาลัยของต่างประเทศหลายแห่ง รวมถึงได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพจากยูเนสโกด้วย

ท่านเคยรับนิมนต์เดินทางไปสอนพุทธศาสนายังมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกหลายแห่ง หลายครั้ง ซึ่งผมจำได้ติดหูติดใจอยู่มหาวิทยาลัยเดียว คือ ฮาวาร์ด (Harvard University) เหตุผลที่จำได้คือ ชื่อมหาลัยนี้เท่ห์ดีเป็นบ้า!

ท่านเขียนหนังสือมาแล้วกว่า 300 เรื่อง ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

ก็แค่นี้แลครับ ที่ผมรู้จักหลวงพ่อท่านเจ้าคุณฯ

ครั้นได้อ่านหนังสือวิถีแห่งปราชญ์นี้ จึงทำให้ผมองอาจผงาดขึ้นจากหลุม ไปรู้จักหลวงพ่อท่านเจ้าคุณฯได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อนอีกหลายขบวน

หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงขึ้นมาโดย คุณพนิตา อังจันทรเพ็ญ ลูกศิษย์ผู้เคยทำงานรับใช้หลวงพ่อท่านเจ้าคุณฯมานาน

เอาล่ะครับ สัญญาว่าจะคัดลอกมาให้อ่านด้วยกันวันละบท เผื่ออาการอักเสบของ “เชื้อบ้า” แถวนี้ จะได้ทุเลาเบาบางลงได้บ้าง

สาธุเทอญ.

36 comments

  1. ขอบคุณมากค่ะคุณสวรรค์เสก
    สำหรับเรื่องราวที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป

    หวังว่าอาการจะทุเลาดังท่านว่า สาธุ

  2. ท่านป๋าสอเกริ่นเรื่องไว้แบบนี้
    เห็นทีพวกเราต้องติดตามอ่านตอนต่อไปอย่างใกล้ชิดแล้วนะคะ

    ขะใจ๋ค่ะ ขะใจ๋มาเล่าต่อเวย ๆ
    😀

  3. เอ๊า งั้นมาเริ่มอ่านตอนที่ 1 กันเลยละกัน

    แต่ละตอนเป็นเกร็ดสั้นๆ ไม่ยาวดอก อย่าเพิ่งขี้เกียจอ่านกันเลยน้า

  4. วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 1 “ชอบเป็นบางแง่”

    .
    .

    ท่านเจ้าคุณฯ เคยรับนิมนต์ไปสอนวิชาพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา 3 ครั้ง* โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปครั้งที่ 2 ท่านใช้เวลาอยู่ที่นั่นนานถึง 2 ปี

    (ครั้งแรก พ.ศ. 2515 University Museum, University of Pennsylvania
    ครั้งที่สอง พ.ศ. 2519 Swarthmore College, Pennsylvania
    ครั้งที่สาม พ.ศ. 2524 Harvard University)

    เมื่อกลับมาแล้ว

    เมื่อมีโอกาสอันเหมาะควร

    ท่านมักจะเล่าให้บรรดาลูกศิษย์ฟังถึงความสวยงามของวิวทิวทัศน์ ความโปร่งโล่งสบาย และความสะอาดสะอ้านสวยงามของถนนหนทางตามเมืองเล็กเมืองน้อย บ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็ไม่ต้องมีกำแพงสูง หรือรั้วรอบบ้านเพื่อป้องกันโจรภัย ตลอดจนการจัดผังเมืองที่เป็นระเบียบเรียบร้อย แบ่งเป็นเขตๆ เช่น เขตที่อยู่อาศัย เขตธุรกิจ เขตสถานที่ทำการราชการ ฯลฯ

    นอกจากนั้น ท่านยังได้แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 ครั้ง 2 หัวข้อ

    ครั้งแรกเรื่อง “มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย”
    ครั้งที่สองเรื่อง “ส่งออกจากไทยไปไม่ถึงอเมริกา”

    ศิษย์คนหนึ่งนึกทึกทักเอาเองว่า ท่านคงจะชอบประเทศสหรัฐอเมริกามาก วันหนึ่งจึงได้ถามท่านว่า “ท่านเจ้าคุณฯ คงจะชอบประเทศสหรัฐอเมริกามากที่สุด ได้ยินท่านพูดถึงบ่อยๆ”

    ท่านตอบว่า “ชอบเป็นบางแง่ ไม่ได้ชอบทั้งหมด ที่พูดถึงบ่อยไม่ใช่ว่าชอบ ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า สังคมไทยเรากำลังตามหลังสัมคมอเมริกันอยู่ ก็อยากให้แง่คิดว่า สังคมของเขาก็มีปัญหามากเหมือนกัน ถ้าเราจะตามก็ควรตามในส่วนที่ดีที่เขามี ไม่ใช่ไปตามหรือไปชื่นชมในส่วนที่เขาเองก็มีปัญหา”

  5. พี่จะเอี๊ยบ
    พี่สาวเค้าเป็นเลขา บริษัทยา ไทยโอซูก้าเด้อคะ
    มิได้เป็น เพ-ฉัด หร๊อก ถึงหน้าตาจะให้ก็เถอะ 555

  6. อืม .. ขอบคุณค่ะคุณสิญจน์ สวรรค์เสก

    ธรรมะวันนี้ ให้เราเลือกมองบางมุม อันเป็นมุมมองที่ดี
    มุมมองที่มีประโยชน์แล้วนำมาปรับใช้ต่อไป

    .
    .

    ขอบคุณจ้าหนูบาล์ม
    เอาคำตอบลัดฟ้ามาเสิร์ฟให้ถึงที่เลย

    😀

  7. วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 2 “เป็นพระต้องมีปฏิสันถาร”

    .
    .

    ท่านเจ้าคุณฯ เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่าท่านมีธรรมชาติเป็นคนเก็บตัว ไม่ชอบออกงาน ไม่ชอบพิธีการทางสังคม ชอบศึกษาค้นคว้างานด้านวิชาการ และงานที่คิดจะทำก็มีมากมาย เวลาทำงานมีความสุขและมีสมาธิดี ตามปกติไม่อยากพบปะพูดคุยกับใคร

    แต่หลังจากท่านเขียนหนังสือพุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความจบ และหนังสือได้เผยแพร่ออกไปเป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคม ท่านเริ่มมีแขกมาพบที่กุฏิมากขึ้นทุกที

    เมื่อใครมีปัญหาอะไรมาถาม ท่านก็จะตอบอย่างละเอียดละออทุกแง่ทุกมุม จนหมดความสงสัยกันเลยทีเดียว

    แขกที่มาพบท่านก็จะรู้สึกสบายใจจนลืมเวลา มานั่งกันนานๆ บางทีอยู่กันนาน 5-6 ชั่วโมง กว่าจะกลับก็ดึกๆ ดื่นๆ ถึงห้าทุ่มสองยามก็มี

    พอแขกกลับไปแล้ว ถ้าเป็นช่วงที่กำลังอาพาธมาก ท่านจะลงนอนเพื่อพักผ่อนร่างกาย ถ้าร่างกายพอไปได้ ท่านก็จะหยิบงานออกมาทำต่อ กว่าจะได้พักจำวัด เวลาก็ล่วงเข้าวันใหม่ ถ้าช่วงไหนมีงานมาก บางทีก็ทำงานอยู่ถึงเช้า

    ศิษย์คนหนึ่งทนเห็นสภาพนี้มาได้พักหนึ่ง รู้สึกหงุดหงิดด้วยความสงสารท่าน เกรงว่าถ้าปล่อยให้เป็นไปอย่างนี้เรื่อยๆ สักวันท่านคงทรุดแน่ เพราะใช้ร่างกายหักโหมจนเกินไป

    วันหนึ่ง เขาได้ถามท่านว่า “ทำไมท่านเจ้าคุณฯ ไม่บอกพวกแขกว่าท่านมีงานเร่งรออยู่ หรือท่านกำลังอาพาธ ให้เขากลับไปก่อน ค่อยมาใหม่ในวันหลัง”

    ท่านเจ้าคุณฯ ตอบด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนว่า

    “ทำอย่างนั้นไม่ได้ เป็นพระต้องมีปฏิสันถาร” *

    * ปฏิสันถาร คือ การรับรอง การทักทายปราศรัย เป็นหนึ่งใน “คารวตา” คือ ความเคารพ 6 ประการ

    1. เคารพในพระศาสดา
    2. เคารพในพระธรรม
    3. เคารพในพระสงฆ์
    4. เคารพในการศึกษา
    5. เคารพในความไม่ประมาท
    6. เคารพในปฏิสันถาร การรับรอง โอภาปราศรัย

  8. สาธุ -/\-

    .

    อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณ Z และ คุณสิญจน์ สวรรค์เสก
    สุขสันต์วันศุกร์ค่ะ

    😀

  9. สาธุ

    สวัสดีสายๆ วันศุกร์แรกของเดือนค่ะ

    ไปข้างนอกก่อนนะคะ

    สุขสันต์วันสุขค่ะ ^__^

  10. สวัสดีตอนสายๆค่ะคุณเจี๊ยบ

    มิได้เป็น เพสัช แต่อย่างใด เป็นแค่เลขาฯ ธรรมดาๆเท่านั้นล่ะค่ะ อยู่ Thai Otsuka Pharmaceutical ค่ะ ถ้าเคยใช้ยาเรา คาดว่าคุณเจี๊ยบน่าจะรู้จักดีนะคะ 🙂

    ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
    พีสาวนู๋บาล์ม

  11. ไปดีมาดีนะคะท่านรอง ฯ Z
    และจะยิ่งดีถ้าตอนกลับมี ไก่ย่าง & ส้มตำ ติดมือมาฝาก .. หุ หุ

  12. อ่ะ อ่าว !!
    โดนปาดหน้าอีกแล้วเรา 55555+

    .

    สวัสดีค่ะ คุณพี่สาวหนูบาล์ม (( คนอะไรทำไมชื่อย๊าวยาว ))

    ก่อนอื่นต้องขอต้อนรับสู่บล๊อกดี ดี๊ ดี ดีเป็นบ้าบล๊อกนี้นะคะ และขอบคุณที่ช่วยมาส่งข้าว เอ้ย ! ส่งข่าวด้วยตัวเองด้วยค่ะ บริษัทยาที่คุณทำงานรู้สึกจะเด่นเรื่องน้ำเกลือใช่ไหมคะ ? ( หากข้อมูลผิดพลาดต้องขออำภัยโตยเน้อเจ้า ) ส่วนตัวแล้วไม่เคยใช้ยาบริษัทของคุณหรอกนะคะ แต่ก็คาดว่าบริษัทยาของคุณจะผลิตและจัดจำหน่าย ยา และ เวชภัณฑ์ ที่ดี มีคุณภาพให้คนไทยใช้อย่างแน่นอน

    ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ 😀

  13. กลับมาแล้วค่ะ
    แต่ว่า…ไม่มีไก่ย่าง ส้มตำมา มาฝากอ่ะค่ะ

    มีแต่น้ำใจ ได้ไหมค่ะ ^^”

  14. ขอบคุณนะคะท่านรอง ฯ
    น้ำใจของท่านอร่อยมากค่ะ .. 😀

    .

    ออกไปไหนคะทั่น ? เป๋นหยังไปเร็วมาเร็วแต๊ ๆ

  15. ไปธนาคารมาค่ะท่าน
    รีบออกไปเพราะเป็นศุกร์ต้นเดือน

    ส่วนที่กลับมาเร็ว เพราะเลือกไปธนาคารที่ไม่ค่อยมีคนน่ะค่ะ ^__^

  16. ^
    ^
    กดเงินมาแล้วใช่ม้าพี่แซด ขั้นต่อไป โอนมาบัญชีนู๋เรยนะ รออยู่ 5555

    พี่จะเอี๊ยบ หาความ(บ้า) ต่างหากเล่า 🙄

  17. 5555+
    เรื่องเงินไว้คุยกันหลังไมค์นะหนูบาล์ม
    ตอนนี้ขอไปใช้หนีเค้าก่อนนะ หุหุ

  18. สวัสดีตอนค่ำค่ะ

    คนบ้าสองคนข้างบนน่ะ จะทำธุรกรรมกันซะที่นี่เลยก๊ะ ?
    โปรดหักค่าดำเนินการ และค่าสถานที่ให้เจ้าของบ้า (น) 5 % ด้วยค่ะ
    5555555555+

    😀

  19. สวัสดีค่ะท่าน จขบ.
    วันนี้มาถึงก่อนข้าพเจ้าหรือนี่

    อ้าว.ข้าพเจ้าคิดว่าที่นี่ฟรีค่าธรรมเนียมซะอีกค่ะ หุหุ
    งั้นเก็บที่หนูบาล์มแล้วกันนะคะท่าน ^^”

  20. วันนี้ข้าพเจ้าไม่ได้มาถึงก่อนท่านหรอกนะคะ
    หากแต่เป็นเพราะท่านมาถึงช้ากว่าข้าพเจ้าเท่านั้นเอง .. 😀

    (( มันต่างกันตรงไหนละนี่ 5555+ ))

    .

    หากเป็นเรื่องอื่นไม่มีค่าธรรมเนียมหรอกค่ะ แต่เรื่องนี้น่ะต้องนิ๊ดนึง
    ตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมให้ลงบัญชีหนูบาล์มไว้ใช่ไหมคะ ?
    โอเช ๆ ได้ค่ะ เดี๋ยวข้าพเจ้าจัดการให้ตามนั้นเลยนะคะ

    (( หวานคอหงส์อย่างเราละ !! ))

  21. ยัง!
    ยังอีก!
    ยังไม่เลิกบ้ากันอีก!

    งั้น…นี่แน่ะ! เจอธรรมะไปอีกสักกระบวน

  22. วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 3 “ถ้าไม่ได้เขียนหนังสือ ก็คงจะเป็นนักประดิษฐ์”

    .
    .

    เป็นที่รู้กันในบรรดาลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณฯ ว่า งานอดิเรกของท่าน คือการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ตลอดจนซ่อมแซมสิ่งของที่เสียหายต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น นาฬิกา เครื่องถ่ายเอกสาร วิทยุ เทป หม้อแปลง แม้แต่สายไฟกุฏิของท่านที่วัดพระพิเรนทร์ ท่านก็ต่อและเดินสายดัดแปลงอยู่เรื่อยๆ

    พัดลมเพดานพัดแรงเกินไป ท่านก็พันคอยล์ใหม่ทดให้หมุนช้าลง

    เครื่องไฟฟ้าที่มีผู้ถวายมาจากสหรัฐฯ เป็นไฟ 110 โวลท์ ท่านก็ทำให้ใช้การได้โดยไม่ต้องมีหม้อแปลงไฟ โดยวิธีเอาหลอดไฟมาแบ่งไฟ 220 โวลท์ที่ใช้กันอยู่ในประเทศเราออกไปเสียครึ่งหนึ่ง เหลืออีกครึ่งหนึ่งค่อยปล่อยให้เดินเข้าเครื่องไฟฟ้าที่ต้องใช้ไฟ 110 โวลท์

    ใครไปที่กุฏิของท่าน ก็จะเห็นวัสดุแปลกๆ ที่ท่านประดิษฐ์ใช้เอง ส่วนมากเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ บางทีก็เอาไม่ออกเลยว่ามันคืออะไรกันแน่ เครื่องมือบางตัวทำจากหลอดยาสีฟัน บางตัวมีแสงไฟสว่างวาบๆ

    วันหนึ่ง ศิษย์คนหนึ่งเล่าให้ท่านฟังว่า เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่บ้านเสีย และได้ส่งไปให้ช่างไฟฟ้าดูแล้ว ปรากฏว่าซ่อมไม่ได้ เห็นทีจะต้องทิ้ง

    ท่านเจ้าคุณบอกว่า “ถ้าจะทิ้งจริงๆ ก็ขออาตมาเถิด”

    “ท่านจะเอาไปทำอะไรหรือครับ”

    “เอามาแกะดู เผื่อมีส่วนใดที่ยังใช้ได้”

    ศิษย์ผู้นั้นรู้สึกทึ่งในความเป็นนักประดิษฐ์ของท่าน จึงเปรยขึ้นว่า

    “ท่านคงจะชอบประดิษฐ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแน่เลย ในกุฏิก็เห็นมีเครื่องใช้ไฟฟ้าประหลาดๆ ที่เป็นแฮนด์เมดอยู่หลายเครื่อง”

    ท่านยิ้มน้อยๆ ตอบว่า

    “ถ้าอาตมาไม่ได้เขียนหนังสือธรรมะก็คงจะเป็นนักประดิษฐ์”.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 4 “บัณฑิตย่อมฝึกฝนตน”

    .
    .

    ศิษย์ของท่านเจ้าคุณฯ คนหนึ่ง มาหาท่านที่วัดพระพิเรนทร์บ่อยๆ ยิ่งนานวันที่ได้รู้จักกับท่านเจ้าคุณฯ เขายิ่งรู้สึกประทับใจปฏิปทาจริยวัตรอันเรียบร้อย สงบงามตามแบบอย่างพระสุปฏิปันโน และความเป็นนักปราชญ์ผู้ถ่อมตนของท่านตลอดมา

    ศิษย์ผู้นี้สงสัยว่า อะไรหนอที่หล่อหลอมให้ท่านเป็นเช่นนี้ ท่านมีคติชีวีวิตของท่านเองหรือไม่ ถ้ามีคืออะไร

    เมื่อมีโอกาสจึงกราบนมัสการถามท่านเจ้าคุณฯ ตามที่ตนอยากรู้

    ท่านตอบว่า “คติชีวิตที่อาตมายึดประพฤติปฏิบัติตลอด คือ “บัณฑิตย่อมฝึกตน” อีกคติข้อหนึ่ง ซึ่งถือมาก่อน และต่อมาก็ถือไว้ด้วยกัน คือ “ถ้าจะทำอะไรต้องพยายามทำให้สำเร็จ และทำให้ดีที่สุด”.

  23. อรุณสวัสดิ์วันเสาร์ค่ะ
    เมื่อคืนข้าพเจ้าออกไปซื้อของ ระหว่างทางเจอฝนเฉยเลย
    เปียกมะล่อกมะแล่กเป็นลูกหมาตกน้ำไปซะงั้น – -”

    หลังจากนั้นฝนก็ตกทั้งคืนจนถึงตอนนี้

    ขอบคุณมากนะคะคุณสิญจน์ สวรรค์เสก
    วันนี้มาสองตอนรวดเลย สาธุ
    แล้วข้าพเจ้าจะพยายามนำไปปฏิบัตินะคะ

    ไปดูสังข์ทอง เอ้ย ไปทำงานก่อนนะคะ ^__^

  24. สวัสดีค่า

    .

    ขอบคุณมากค่ะคุณสิญจน์ สวรรค์เสก
    วันนี้มาสองตอนรวดอย่างที่คุณ Z ว่าไว้เลยนะคะ

    .
    .

    ช่วงนี้ไปไหนมาไหนต้องพกร่มไปด้วยเสมอแหละค่ะท่านรอง ฯ
    นอกจากว่าท่านจะอยากเป็นนางเอกมิวสิควีดีโออ่ะนะ หุหุ
    แล้วหลังจากที่โดนฝนไปเมื่อคืนนี้ สุขภาพยังดีอยู่แม่นก่ ?

    ข้าพเจ้าเองก็ขอตัวไปทำงานต่อก่อนนะคะท่าน
    ขอให้สนุกกับงาน และ ขอให้สังข์ทองตีคลีชนะด้วยค่ะ
    555555+

    -จขบ.- 😀

  25. สังข์ทองจบแล้ว ตีคลีชนะ พร้อมกับเข้าวังไปแล้ว ^^”

    บางอารมณ์ได้เป็นนางเอกมิวสิคบ้างก็ดีนะคะ (ย้ำว่าบางอารมณ์) หุหุ

    ตอนนี้สุขภาพยังดีอยู่ค่ะ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร (มั๊ง)
    เพราะเมื่อเช้ายังตื่นมาซักผ้าตั้งแต่หกโมงได้ ชิวชิวค่ะ 5555+

    ขอให้วันนี้งานสบายๆ นะคะท่าน
    รักษาสุขภาพกายและใจด้วยค่ะ เพราะอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย ^__^

  26. “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐอย่างหนึ่งของมนุษย์”
    หากไม่เป็นไรก็ดีแล้วค่ะ ยินดีด้วยนะคะท่าน

    .

    วันนี้น่าจะดีค่ะ เพราะมีฝนมาตกสกัดดาวรุ่งให้แล้วอย่างหนัก
    คนไข้หน้า OPD คงไม่มากรายนัก แต่คนไข้หนักนอนรออยู่ตรึม !
    ข้าพเจ้าขอตัวเดินเข้าวอร์ดก่อนละกันเด้อ
    ไปละค่ะ แว๊บ ๆ

    -เจ้าสำนักแห่งตำหนักมารดำ.-

  27. ขอบพระคุณค่ะท่านเจ้าสำนัก
    หวังว่าท่านก็จะสุขภาพแข็งแรงเช่นกันนะคะ

    นั่นสินะ วันนี้สายฝนโปรยปรายทั้งวัน
    ลูกค้าที่นี่ก็ไม่เท่าไหร่เหมือนกัน ข้าพเจ้าเลยนั่งเคลียร์งานได้เรื่อยๆ

    สุขสันต์วันอืมครึมค่ะ

    ปล.องค์จะลงเมื่อไหร่บอกข้าพเจ้าด้วยนะคะ ^^”

  28. ที่นี่ฝนหยุดนานแล้วค่ะ
    อากาศเลยเปลี่ยนจากเย็นสบายเป็นอบอ้าวในพริบตา – -”

    .

    ทางนี้งานเข้าค่ะ เข้ามาเรื่อย ๆ หลุย ๆ เลยละ
    ข้า’เจ้านี่หยังมาหมานแต๊หมานว่าก่บ่ฮู้ 555555+

    ขอให้อร่อยกับมื้อเที่ยงนะคะ
    -เจ้าสำนัก ฯ-

    ป.ล. องค์เกือบลงตอนท้องหิวนี่แหละค่ะ ดีนะคะที่ห้อยพระทัน ^o^

  29. 55555+
    ระวังองค์ลงตอนอยู่กับคนไข้นะท่าน

    ว่าแต่ห้อยพระองค์ไหนคะ
    ข้าพเจ้าจะได้ห้อยกันของขึ้นมั่งอ่ะ หุหุ

    ตอนนี้ที่นี่เหมือนจะมีแดดนิดๆ แต่ฝนก็ยังตกปรอยๆ ค่ะ

  30. ถึงองค์จะลงตอนอยู่กับคนไข้ก็ไม่เป็นไรหรอกค่ะท่านรอง ฯ
    เพราะ “ของ” มันจะโดน “ข่ม” ไปเอง ไม่สามารถ “ขึ้น” แต่อย่างใด

    ส่วนพระที่ห้อยไว้เป็นรุ่น “เย็นไว้โยม” ค่ะ
    ห้อยไว้แล้วจะดี เพราะทำให้เย็นใจหลาย 5555+

  31. 5555+
    เหมือนข้าพเจ้าเลย ของไม่ทันขึ้น ข้าพเจ้าก็โดนของไปซะก่อน หุหุ

    เห็นทีข้าพเจ้าต้องไปหาพระรุ่น “เย็นไว้โยม” บ้างแล้วล่ะค่ะ
    ช่วงนี้จิตใจว้าวุ่น เป็นวัยรุ่นใจร้อนอ่ะค่ะ 555+

  32. ^
    ^

    เข้าใจค่ะ เข้าใจ
    “วัยรุ่น” ต้องเข้าใจใน “วัยรุ่น” เสมอละ .. ^o^

    ดู
    ดู๊
    ดู

    ดูสิน่ะ
    ช่างพูดออกมาได้ไม่อายฟ้าดินกันเลย 555555+

Leave a reply to z2you Cancel reply