หนังสือหนังหา : หยุดความเลวที่ไล่ล่าคุณ #1

สวัสดีค่ะมิตรรักที่เคารพ  

ช่วงนี้ฝนตกทั่วฟ้าเมืองไทย ทำให้บรรยากาศทั่วไปดูชุ่มฉ่ำ ต้นไม้ต้นหญ้าก็เขียวชอุ่ม มองแล้วชุ่มตาชื่นใจจริง ๆ บรรยากาศแบบนี้เหมาะกับการหยิบหนังสือที่อ่านจบแล้วมาเล่าสู่กันฟังอย่างยิ่งค่ะ 

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามานั่งคุยกันในวาระ “หนังสือหนังหา” ด้วยหนังสือไม่เลว ๆ เล่มนี้กันเลยนะคะ

หยุดความเลวที่ไล่ล่าคุณ # 1

ผู้เล่า : พ.อ.(พิเศษ) ทองคำ  ศรีโยธิน
ผู้เขียน : สมคิด  ลวางกูร

หนังสือเล่มนี้เป็นถอดความจากคำบรรยายของท่าน พ.อ. (พิเศษ) ทองคำ  ศรีโยธิน แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรโดยคุณสมคิด  ลวางกูร ซึ่งก็ทำได้ดี อ่านได้ลื่นไหล ไม่ติดขัดในอารมณ์ จึงต้องให้เครดิตทั้งผู้เล่าและผู้เรียบเรียงค่ะ

หนังสือปกแดงเล่มนี้เคยได้ยินชื่อมาหลายปี เพื่อน ๆ ในที่ทำงานมีแต่คนอ่านและกล่าวขวัญถึงด้วยความประทับใจ แต่ข้าพเจ้ากลับไม่เคยหยิบขึ้นมาอ่านสักครั้งแม้จะเจอกันจัง ๆ บนชั้นหนังสือหลายหนแล้วก็ตาม เพราะชื่อหนังสือที่ไม่เข้าตาประการหนึ่ง และเพราะหน้าปกที่ไม่ถูกใจอีกหนึ่งประการ เป็นความเห็นส่วนตัวค่ะ อาจน่าสนใจสำหรับคนอื่นก็เป็นได้ กระทั่งพี่สาวใจดีคนหนึ่งหยิบยื่นระคนยัดเยียดใส่มือให้ “หยุดความเลวที่ไล่ล่าคุณ # 1” กับข้าพเจ้าจึงได้โคจรมาพบกัน

.. เราตัดสินความบ้าดีเดือดของคนจากตัวอักษรไม่ได้ ฉันใด ..
.. เราตัดสินหนังสือจาก ชื่อ และ หน้าปก ไม่ได้ ฉันนั้น ..

ชื่อ ให้ความรู้สึกดุดัน แต่ข้างในนั้นกลับมีแต่เรื่องราวที่อ่อนโยน หน้าปก ให้ความรู้สึกรุนแรง เร่าร้อน แต่ข้างในกลับเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาอันอ่อนละมุน ตัวอักษรถูกจัดวางโปร่ง ๆ ไม่อัดแน่นให้รู้สึกอึดอัด พิมพ์บนกระดาษสีนวลอ่านสบายตา เล่มนี้มีชื่อตอนว่า “กษัตริย์ยอดกตัญญู” จำนวน 252 หน้าไม่รวมหน้าโฆษณาและปก ไม่บางแต่ก็ไม่หนาเกินไปนัก สำหรับคนที่อ่านหนังสือเร็วก็สามารถอ่านจบได้ในหนึ่งวัน สำหรับข้าพเจ้านั้นใช้เวลาสามคืนค่ะ – -”

เรื่องราวในเล่มล้วนเป็นเรื่องที่น่าเล่าสู่กันฟัง ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าบางตอนในนั้นท่านอาจเคยผ่านตามาแล้วจาก FW mail ส่วนตัวนั้นประทับใจและเห็นจริงกับการยกเรื่องการบ่มมะม่วงมาสอนใจที่สุดค่ะ ขอตัดตอนมาเล่าหน่อยนึงนะคะ

.

บ่ม…ทำยังไง…?
บ่ม…คือการทำให้มันอบอ้าว…
วันที่ 1…เราสอยมะม่วงมา…กองรวมกันไว้…แล้วเอากระสอบคลุม..
วันที่ 2…เราเดินผ่าน..มองไม่เห็นมะม่วง..เพราะกระสอบคลุม…
วันที่ 3…ก็เดินผ่านเฉย ๆ …ไม่ได้สังเกต…ไม่มีอะไรเกิดขึ้น…
แต่พอวันที่ 4…ลูกเดินผ่านกองมะม่วง…ลูกรู้ได้ทันทีว่า…มะม่วงนี้สุกแล้ว…
ลูกจะรู้ได้ไหม…รู้ได้ยังไง…ว่ามะม่วงสุกแล้ว…?

กลิ่นมันออกมาทักเรา…สวัสดีค่ะ…มะม่วงสุกแล้วค่ะ…

ไม่มีใครเอากลิ่นมาใส่ให้…กลิ่นนี้เป็นกลิ่นหอม..
มะม่วงจะหอมเอง

มะม่วงจะเปลี่ยนเป็นสีทองเอง

มะม่วง…มันหวานเอง...ขอเพียงบ่มก็แล้วกัน…

เอ้า…ทดลองใหม่อีกที…
เอามะม่วงสีทอง..ใส่มือขวา…
ไปสอยลูกเขียว ๆ มาจากต้น…ใส่มือซ้าย…
ข้างไหนอ่อน..ข้างไหนแข็งครับ…?
ลูกดิบ…จะแข็งกระด้าง…
ลูกสุก…บีบแล้วเป็นยังไง…?…อ่อนโยน …นุ่มนวล…สุภาพน่ารัก…

เราจำไว้ง่าย ๆ ว่า…
ถ้าดิบแล้ว…จะแข็งกระด้าง…
ถ้าสุกแล้ว…จะอ่อนนุ่ม…สุภาพ…อ่อนโยน…น่ารัก…

.

อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างคะ ? ข้าพเจ้าน่ะอ่านไปยิ้มไปเลยล่ะ 

ในเล่มมีอีกหลายตอนนะคะที่น่าประทับใจ อย่างการดูคน ดูว่าใครเป็นยอดคน ดูว่าคนแบบไหนที่คบได้ คนแบบไหนไม่น่าคบหาสมาคม แต่หัวใจของหนังสือก็คือเรื่องราวของความกตัญญูรู้คุณคน

คุณสมคิด  ลวางกูร ผู้เรียบเรียงได้เขียนคำเตือนไว้ว่า “ผมเชื่อว่า…หนังสือเล่มนี้…ดีที่สุดในโลก…คุณจะอ่านหรือไม่…มันเรื่องของคุณ”

สำหรับข้าพเจ้าขอบอกเพียงว่า “เล่มนี้ดีนะ น่าอ่าน”

หลายคนที่เคยอ่านเล่มนี้มาแล้วมักบอกเล่าต่อ ๆ กันไปถึงความประทับใจว่าอ่านตอนไหนแล้วซึ้ง อ่านตอนไหนแล้วร้องไห้ สำหรับข้าพเจ้าขอผ่าน ขอไม่กล่าวถึงอารมณ์นี้ดีกว่า เอาเป็นว่าถ้าท่านมีโอกาสก็หยิบขึ้นมาอ่านดูนะคะ

อ่านแล้วจะน้ำตารื้นบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะนั่นหมายถึงท่านมีหัวใจที่อ่อนโยน

ด้วยมิตรภาพเช่นเคยค่ะ
-มารดำ.-

61 comments

  1. ถ้ามีโอกาสพบเจอเมื่อไหร่ จะหยิบมาอ่านดูนะคะ

    อ่านจากที่ท่านยกตัวอย่างมา
    คาดว่าน่าจะช่วยหยุดความเลวในตัวข้าพเจ้าได้บ้างล่ะนะ ^^”

    ข้าพเจ้าก็เคยซื้อหนังสือจากชื่อ หรือปกอยู่เหมือนกันค่ะ
    (แบบว่าโดนตา สะดุดใจ ประมาณนั้น)
    หลังมาๆ เริ่มคิดได้ล่ะ หุหุ

  2. ลองดูนะคะท่านรอง ฯ Z
    หนังสือเล่มนี้ยังทำให้เรา “กล้า” ทำเรื่องดี ๆ อีกด้วยค่ะ

    .
    .

    นอกจากชื่อ และ หน้าปก แล้ว
    บางทีข้าพเจ้าก็ซื้อเพราะ คำนิยม หรือ คำโปรยด้วยค่ะ
    แต่บางเล่มปรากฏว่าข้างในกลับไม่ใช่อย่างที่คิดซะงั้น – -”

    หลัง ๆ มาข้าพเจ้าก็เลยไม่ค่อยคิดอะไรละ .. หุ หุ

  3. 55555+
    ซะงั้นนะคะท่าน
    จะว่าไปข้าพเจ้าก็เคยเจออย่างนั้นเหมือนกัน
    แบบว่าไม่ใช่อย่างที่คิดนั่นล่ะค่ะ (บางครั้งก็ดีกว่าที่คิดซะอีก -*- )

    คืนนี้ข้าพเจ้ามาซะดึก ได้เวลาเข้านอนพอดีล่ะมั๊งนี่
    นอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ค่ะ ^__^

  4. ใช่ค่ะคุณ Z
    ไม่ว่าหนังสือหรือคนเลยละ บางครั้งก็ดีกว่าที่คิดไว้ซะอีกนะคะ
    จะว่าไปแล้วการไม่ตั้งความหวังกับอะไร ก็ทำให้เราไม่ต้องผิดหวังดีเนาะ

    คืนนี้ขอบคุณมากนะคะที่แวะมาส่งข้าพเจ้าเข้านอน
    ขอให้นอนหลับฝันดีเช่นกัน ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

    😀

  5. ใหม่!

    นับว่าเป็นหนังสือที่ใหม่สำหรับกระผม

    ใหม่ทั้งชื่อหนังสือ
    ใหม่ทั้งชื่อผู้แต่ง-เรียบเรียง

    แต่…
    ประโยคนี้ไม่ใหม่

    “เราตัดสินความบ้าดีเดือดของคนจากตัวอักษรไม่ได้ ฉันใด
    เราตัดสินหนังสือจาก ชื่อ และ หน้าปก ไม่ได้ ฉันนั้น”

    แม้ผมจะเพิ่งได้ยิน(ได้อ่าน)เป็นครั้งแรกก็จริง หากแต่ในความรู้สึกไม่ใหม่

    ดี?
    แน่ล่ะสมาคมแถวนี้ก็พอจะมีอยู่

    เดือด?
    ก็คงจะเดือดกันเป็นประจำ
    ไหนคนไข้จะเยอะ
    เพื่อนร่วมงานจะวุ่น
    เจ้านายจะกวน
    เหล่านี้คือเชื้อเพลิงให้อารมณ์เดือด

    บ้า?
    บ้า! เขารู้กันทั้งบ้านทั้งเมืองแล้ว วุ้ย!

  6. วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 30 “ฟังไม่รู้เรื่อง”

    .
    .

    เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาว่า ท่านเจ้าคุณฯ นั้นเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เป็นปกตินิสัย ท่านไม่เคยแสดงว่าป็นผู้รู้ หรือเป็นนักปราชญ์ตามที่ผู้อื่นยกย่องแต่อย่างใด ใครจะยกย่องสรรเสริญอย่างไร ท่านก็ยังคงเหมือนเดิม ใครได้เข้าพบท่านก็จะรู้สึกว่าท่านเรียบง่าย เป็นธรรมดาเหมือนเราๆ ท่านๆ ไม่แปลกและแตกต่างชนิดที่ว่าท่านเป็นอัจฉริยะ

    คนธรรมดาบางคนที่เข้าพบท่านเจ้าคุณ บางทีอาจจะรู้สึกว่า เอ…เรานี่ท่าจะมีดีเหมือนกันนะ สามารถคุยกับนักปราชญ์เช่นท่านเจ้าคุณฯ ได้นานๆ

    ทุกครั้งที่บรรดาคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ มานิมนต์ท่านไปบรรยายในหัวข้อที่ต้องเกี่ยวข้องกับวิชาการสาขาอื่นที่ท่านเองไม่ได้ร่ำเรียนมาโดยตรง เช่น เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ, การแพทย์แนวพุทธ, พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์, จิตวิทยากับจิตภาวนา, พระกับป่า, เกษตรกรรมแนวพุทธ, ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาสารพัดรูปแบบ ตั้งแต่การศึกษาเด็กเล็กไปจนถึงการศึกษาสากล การศึกษาเพื่อสันติภาพ ฯลฯ

    ท่านมักจะรับนิมนต์ด้วยความเกรงใจผู้มานิมนต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยนับถือกัน หรือไม่ก็เป็นลูกศิษย์ลูกหาเก่าแก่ ท่านตอบรับไปแล้วก็มักจะเปรยว่า ท่านจะเอาอะไรไปบรรยาย เพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญวิชาการเหล่านั้นมาโดยตรง

    พวกลูกศิษย์ก็ได้แต่ช่วยหาข้อมูลประเภทตำรา หนังสือต่างๆ มาถวายเท่าที่จะหาได้ ในส่วนของท่านเจ้าคุณฯ เอง ก็พอมีตำรับตำราที่เก็บสะสมไว้มากพอสมควร ลูกศิษย์ซื้อถวายบ้าง ได้รับถวายเวลาไปบรรยายบ้าง และซื้อเองบ้างเวลาไปต่างประเทศ

    เมื่อถึงคราวไปบรรยายจริงๆ ท่านก็จะบรรยายได้อย่างคล่องแคล่ว สวยงามไม่มีที่ติดขัด เป็นที่ประทับใจนักวิชาการในสาขานั้นๆ อย่างยิ่งยวด มีคำกล่าวยกย่องสรรเสริญสูงสุดติดตามมาทุกครั้ง

    ตัวอย่างเช่น เรื่องเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เป็นต้น เป็นเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์ชื่นชมกันไม่รู้จบ ต่อมาเมื่อตีพิมพ์เป็นเล่ม และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย J.B. Dhammavijaya ในชื่อเรื่องว่า Buddhist Economics ก็ได้กลายเป็นหนังสือที่ชาวต่างประเทศให้ความสนใจมากเล่มหนึ่ง มีการติดต่อสอบถามหาหนังสือนี้จากอารยประเทศที่ห่างไกล เช่น สหรัฐอเมริกา กล่าวกันว่า ที่นิวยอร์คมีผู้ต้องการหนังสือนี้หลายคน แต่มีหนังสือเพียงเล่มเดียว หามากกว่านั้นไม่ได้ ฝรั่งคนหนึ่งจึงพยายามติดต่อขออนุญาตถ่ายสำเนาเพื่อจะนำไปแจกกัน

    ครั้งหนึ่งท่านรับนิมนต์ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยหอการค้า โดยอาจารย์ผู้นิมนต์ได้ตั้งหัวข้อว่า “การสื่อภาษาเพื่อเข้าถึงสัจธรรม” หัวข้อนี้ไม่ยากสำหรับท่านเจ้าคุณฯ

    ท่านใช้เวลาแสดงปาฐกถานั้นประมาณชั่วโมงครึ่ง พวกที่ฟังรู้เรื่องก็จะรู้สึกประทับใจในเนื้อหาสาระของคำบรรยายนั้น กล่าวสรรเสริญแสดงความชื่นชมอยู่ไม่ขาด

    หลักจากจบการบรรยายแล้ว ลูกศิษย์คนหนึ่งได้ตามมาที่วัด เพื่อจะกราบเรียนท่านถึงความประทับใจของเขาที่มีต่อคำบรรยายของท่าน

    ท่านฟังแล้วยิ้มน้อยๆ บอกว่า “ตอนขากลับ อาจารย์ผู้นิมนต์ได้ให้นักศึกษาคนหนึ่งมาส่งอาตมา นักศึกษาคนนั้นเล่าให้อาตมาฟังว่า เพื่อนๆ ของเขาบอกว่า พระพูดอะไรก็ไม่รู้ ฟังไม่รุ้เรื่อง…”.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 31 “เขียนสั้นๆ ไม่ค่อยเป็น”

    .
    .

    ดังที่เล่ามาพอเป็นสังเขปในตอนก่อนๆ ว่า ท่านเจ้าคุณฯเป็นผู้มีความละเอียดลออ เรียกว่า เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของท่านก็ว่าได้ ไม่ว่าท่านจะทำ จะเขียน จะพูดสิ่งใด ล้วนทำด้วยความประณีต สุขุมคัมภีรภาพ

    ตัวอย่างเช่น ถ้าจะเขียนสิ่งใดก็จะอธิบายโดยละเอียดรอบด้าน ชนิดไม่เปิดช่องให้สงสัยได้เลย

    เกือบยี่สิบปีที่แล้ว ครั้งที่ท่านยังเป็นพระราชวรมุนี จำพรรษาอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ สมัยนั้นท่านเริ่มมีชื่อเสียงบ้างแล้วในแวดวงนักวิชาการ ผลงานหนังสือแต่ละเล่มของท่านได้กลายเป็นหนังสืออ้างอิงระดับมหาวิทยาลัย

    มีนิตยสารรายสัปดาห์เล่มหนึ่งติดต่อมาขอบทความของท่านไปตีพิมพ์ลงในนิตยสารของเขาสัก 2-3 หน้า เป็นประจำทุกสัปดาห์

    ปกติแล้วท่านไม่รับเขียนบทความให้นิตยสารใดๆ ทั้งสิ้น แต่ด้วยเมตตาท่านตอบว่า “อาตมาเขียนสั้นๆ ไม่ค่อยเป็น เขียนทีไรมันคอยจะยาวทุกที”

    “ทางนิตยสารของเราสนใจผลงานของท่านเจ้าคุณฯมาก เห็นว่าทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง อยากให้ประชาชนได้มีโอกาสอ่านบทความทางธรรมะดีๆ บ้าง” ตัวแทนนิตยสารเล่มนั้นยืนยันเจตนารมณ์

    ท่านตอบว่า “คุณสนใจหัวข้อไหนจ๊ะ อาตมามีพูดไว้หลายเรื่องในที่ต่างๆ ลองตัดตอนเอาไปลงก็คงได้ หรือถ้ามีหัวข้อใดต้องการเป็นพิเศษก็อาจจะมาคุยแบบถามตอบ แล้วก็เอามาตรวจแก้กันอีกทีจะดีไหม”

    เป็นอันว่านิตยสารฉบับนั้นเห็นดีตามข้อเสนอของท่าน จึงตามไปสัมภาษณ์ท่านถึงที่กุฏิ และก็ได้บทสัมภาษณ์ไปตีพิมพ์สมดังความประสงค์ เป็นครั้งเป็นคราวตามรายสะดวก ต่อมาตัวแทนนิตยสารเล่มนั้นได้ลาออกไป คอลัมน์นี้เลยต้องล้มเลิกไปโดยปริยายเพราะไม่มีใครทำต่อ

    เรื่องความละเอียดของท่านนี้เป็นที่กล่าวขานกันอยู่เสมอว่า เวลานิมนต์ท่านไปแสดงปาฐกถาหรือบรรยาย ต้องเผื่อเวลาให้ท่านด้วยมากๆ เพราะท่านจะบรรยายอย่างละเอียดครบถ้วนกระบวนความ ซึ่งเวลาที่กำหนดมักจะไม่พอ ต้องต่อเวลาอยู่บ่อยครั้ง หรือถ้าเปิดเวลาเสรีให้ท่านบรรยาย ท่านจะบรรยายอย่างเต็มที่ มิได้ห่วงใยสุขภาพของท่านเองเลยว่าจะเสียงแหบแห้ง หรือจะหมดเรี่ยวแรงไปเสียก่อนบรรยายจบ

    ครั้งหนึ่ง ศ.ดร.ระวี ภาวิไล ในนามธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นิมนต์ท่านบรรยายเรื่อง “พุทธศาสนากับนิเวศวิทยา” โดยไม่จำกัดเวลา ให้ท่านเจ้าคุณฯใช้เวลาบรรยายได้ตามอัธยาศัย ท่านเจ้าคุณฯใช้เวลาในการบรรยายทั้งสิ้นหกชั่วโมง

    ครั้งล่าสุดที่น่านำมาเล่าไว้ในโอกาสนี้ ได้แก่ ปาฐกถาในพิธีรับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพที่กรุงปารีส ซึ่งกำหนดให้ผู้รับรางวัลแสดงได้เพียง 5 นาที ท่านเล่าว่า ปาฐกถาที่ท่านเตรียมไปแสดงต้องใช้เวลาประมาณ 20 นาที ไม่ทราบทางผู้จัดพิธีจะว่าอย่างไร

    ปรากฏว่าคณะกรรมการและผู้ที่เข้าร่วมฟังปาฐกถานั้นทุกคนพากันประทับใจมากและได้กล่าวชื่นชมว่า ท่านถึงพร้อมด้วยความเป็นนักปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยวิชาและจรณะ แม้แต่รางวัลนี้ยังดูน้อยเกินไปสำหรับท่าน.

  7. อรุณสวัสดิ์วันพุธค่ะ
    จริงอย่างท่านประธานว่าค่ะ
    ไม่ว่าหนังสือหรือคน บางครั้งก็ไม่เป็นอย่างที่คิดเลย
    แม้จะไม่ตั้งความหวัง เพราะไม่อยากผิดหวัง
    แต่ในความรู้สึกลึกๆ ก็เผลอคิดไปล่วงหน้าไม่ได้สักที – -”

    อืม..แถวนี้มีคน บ้า ดี เดือด อยู่ด้วยหรือคะ คุณสวรรค์เสก
    หายากนะคะ คนที่จะมีครบแบบนี้ หุหุ

    ขอบคุณสำหรับบทความด้วยค่ะ

    สุขสันต์วันทำงานค่ะ ^__^

  8. สาธุ.

    .

    อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านเลขา ฯ ป๋าสอ และ ท่านรอง ฯ Z ที่เคารพ

    “.. ดี? แน่ล่ะสมาคมแถวนี้ก็พอจะมีอยู่ ..”

    นับว่าท่านป๋ารู้จักสมาชิกของสมาคมแถวนี้เป็นอย่างดีจริง ๆ
    เพราะเหล่าเธอและเขาดี๊ ดี แสนดีอย่างหาที่เปรียบมิได้ทีเดียวเชียว

    หุ
    หุ

    สุขสันต์วันพุธค่ะ
    -จขบ.- 😀

  9. โหลๆ เทส เทส

    ไฟดับชั่วครู่ ขอเช็คสัญญาณอินเตอร์เน็ตหน่อยนะคะ ^__^

  10. โอ้ว..ผ่านแล้วหรือนี่
    น่าปลาบปลื้มใจอะไรเช่นนี้ ^__^

    (คอมเครื่องนี้ก็ไม่ค่อยอัพเดทเลย – -” )

  11. ^
    ^

    อืม .. อาการแบบนี้พออนุมานได้สองกรณีคือ
    คอมพิวเตอร์เพี้ยนประการหนึ่ง
    กับเจ้าของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเพื้ยนอีกหนึ่งประการ .. หุ หุ

  12. เอ่อ..ข้าพเจ้าว่าน่าจะเป็นกรณ๊แรกมากกว่าค่ะ

    แต่คิดอีกที อาจจะทั้งสองกรณีเลยก็เป็นได้
    (สงสัยต้องอัพเกรด หุหุ)

  13. เชิญตามลำบากเลยนะคะท่านรอง ฯ Z
    ข้าพเจ้ามิอาจปลีกตัวไปช่วยท่านปฏิบัติการอัพเกรดได้

    ตอนนี้กำลังมึนได้ที่เลยค่ะ .. เหอ เหอ

    .
    .

    สู้ว้อยยยยยย !!

  14. ถึงกับมึนเลยหรือคะท่าน
    สงสัยจะอาการหนักกว่าข้าพเจ้านะคะ ^^”

    สู้ๆ ค่ะท่าน ^__^

  15. ขอบคุณจ๊าดหลายค่ะท่านรอง ฯ
    ข้าพเจ้าขอไปพักให้หายปวดหมองก่อนนะคะ

    .

    ม่วนซื่น ๆ จ้า
    -จขบ.- 😀

  16. แวะมาทักก่อนที่จะหายไปอีกรอบค่ะ
    ช่วงนี้ชีพจรลงพุง เอ้ย ลงเท้า อิอิ

  17. หายปวดหมองยังคะท่านประธาน
    ถ้ายังสงสัยต้องนอนสักตื่นแล้วมั๊งคะ

    รักษาสุขภาพด้วยค่ะ ^__^

    สวัสดีค่ะ คุณปั้น
    ชีวิตคือการเดินทางจริงๆ เนอะ ^^”

    สุขสันต์ สุขสันต์ค่ะ

  18. สวัสดีค่ะคุณปั้น

    ไปไหนใกล้ไกลขอให้ปลอดภัยทุกเส้นทางนะคะ
    แล้วอย่าลืมดูแลพุง เอ้ย ! ดูแลเท้าด้วยค่ะ

    อิ
    อิ

    .
    .

    ขอบคุณมากนะคะคุณ Z
    ข้าพเจ้าน่ะไม่ได้เป็นอะไรหรอก แต่วันนี้ก็ว่าจะพักให้เร็วขึ้นค่ะ

    ดูแลสุขภาพด้วยเช่นกันนะคะ

    😀

  19. จะพักให้เร็วขึ้น แต่มาดึกกว่าเมื่อวานอีกนะคะ ^^”
    นี่ก็สี่ทุ่มแล้ว เดี๋ยวก็ได้เวลาแล้วมั๊งคะ

    งั้นคืนนี้ข้าพเจ้าลาเลยแล้วกัน
    พักผ่อนให้สบายค่ะ

    นอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ค่ะ ^__^

  20. สวัสดีวันพฤหัสฯนะทุกคน

    ขอให้ทุกท่านจงมีคืนวันที่ดีด้วยนะ

    ส่วนเลือดจะไปลมจะมา เอ๊ย ส่วนใครจะไปหรือใครจะมาก็ขอให้มีความสุขถ้วนหน้ากันเถิ๊ด

    สุขสันต์วันวุ่นๆ นะ

  21. วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 32 “ผู้เคารพกติกา”

    .
    .

    ท่านเจ้าคุณฯ เป็นเปรียญเอกอุ (เปรียญธรรม 9 ประโยค) มาตั้งแต่เป็นสามเณร และเป็นผู้หนึ่งที่มีความสนใจในด้านการใช้ภาษา ต้องใช้ภาษาในการเขียนหนังสืออยู่อย่างสม่ำเสมอ ผลงานหนังสือของท่านเป็นที่ยอมรับกันในบรรดานักอักษรศาสตร์ทั้งหลายว่าเป็นภาษาที่เรียบร้อยสุขุมลึกซึ้ง และถูกต้องตามหลักภาษา

    มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ถวายปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาศาสตร์ แก่ท่านในปี พ.ศ. 2531

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถวายปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ท่านในปี พ.ศ. 2531

    แม้ว่าท่านจะได้รับเกียรติยศ ชื่อเสียง การยอมรับ และความชื่นชมความสามารถทางภาษาของท่านเพียงไร ท่านก็ไม่เคยแสดงว่าท่านมีความรู้ทางภาษามากกว่าใครคนอื่น หรือตั้งตนเป็นสถาบันว่า ความคิดเห็นของท่านเท่านั้นที่ถูกต้อง บางครั้งท่านมีความคิดเห็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามติส่วนใหญ่เห็นว่าอย่างไร ท่านก็จะยอมอนุโลมไปตามนั้นอย่างเต็มใจ

    เช่น โดยปกติท่านจะนิยมเขียนคำศัพท์ที่เดิมมาจากภาษาบาลีในแบบบาลี ตัวอย่างเช่น คำว่า สัจธรรม เดิมท่านจะใช้ สัจจธรรม ตามแบบบาลี แต่ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานใช้ “สัจธรรม” ท่านก็เปลี่ยนมาใช้ตามราชบัณฑิตย์ อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง

    ท่านบอกว่า “ราชบัณฑิตย์ฯ ให้ใช้อย่างไร เราก็ใช้ไปตามนั้น จะได้เหมือนๆ กัน”.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 33 “หนังสือที่ชอบที่สุด”

    .
    .

    ถ้าใครไปที่กุฏิของท่านเจ้าคุณฯ ก็จะเห็นว่าสมบัติที่ท่านมีมากที่สุดคือหนังสือ ซึ่งมีที่มาต่างๆ กันไป ส่วนหนึ่งโยมถวาย บางส่วนท่านซื้อหามาเอง บางทีไปแสดงปาฐกถาแล้วผู้นิมนต์จัดถวาย

    ลูกศิษย์คนหนึ่งเคยถามท่านว่า “ท่านชอบหนังสือประเภทไหนมากที่สุด”

    ท่านตอบว่า “ก็คงจะเป็นหนังสืออ้างอิงต่างๆ เช่น หนังสือสารานุกรม (Encyclopaedia) พจนานุกรม (Dictionary) ฯลฯ

    เมื่อเด็กๆ ชอบหนังสืออ้างอิงที่มีรูปภาพมากๆ ตอนนี้ก็ยังชอบอยู่เหมือนกันถ้ามีเวลาดู”.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 34 “เมื่อต้องการความช่วยเหลือ”

    .
    .

    ตามปกติท่านเจ้าคุณฯ จะชอบทำอะไรต่ออะไรด้วยตนเอง แต่ก็มีงานบางอย่างที่ท่านไม่สามารถทำเองได้ ทำเองไม่สะดวกต้องพึ่งผู้อื่น เช่นการไปซื้อของใช้ต่างๆ การไปไปรษณีย์ การไปติดต่อธุระบางอย่าง การพิมพ์ดีดต้นฉบับ ฯลฯ

    เรื่องความเกรงใจผู้อื่นของท่านนี้ เป็นที่รู้กันดีในบรรดาลูกศิษย์ใกล้ชิด จนทุกคนต่างก็มีความรู้สึกว่า ถ้าท่านขอให้ใครทำอะไรให้ ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีโชคดีเสียจริงๆ ที่ได้มีโอกาสได้รับใช้ท่านบ้าง

    เมื่อท่านต้องการให้ใครทำอะไรให้ ท่านจะไม่เรียกลูกศิษย์ให้ไปหา แต่จะเป็นผู้เดินไปหาลูกศิษย์เอง พร้อมพูดบอกธุระด้วยปิยวาจา

    นอกจากนี้ เมื่อถึงโอกาสอันเหมาะสม ท่านก็จะมอบของใช้ต่างๆ ให้แก่ลูกศิษย์ เช่น หนังสือ สารานุกรม พจนานุกรมดีๆ ปากกาสวยๆ นาฬิกา และของใช้อื่นๆ ที่ท่านได้รับถวายมาแต่ไม่ได้ใช้ เป็นต้น.

  22. อรุณสวัสดิ์จ้า

    .

    ไอ้หยา !!

    เพิ่งทราบว่าท่านรอง ฯ Z แอบจับเวลาการมาบล๊อกกะเค้าด้วย
    เกาะติดกระแสโอลิมปิกอะดิ .. คริ คริ คริ

    .
    .

    ขอให้ท่านรอง ฯ Z สนุกกับงาน
    ขอให้ท่านเลขา ฯ ป๋าสอ สำราญกับการขายปลาหลดนะคะ

    สุขสันต์วันดีค่ะ
    -จขบ.- 😀

  23. สวัสดีสายๆ วันพฤหัสบดีค่ะ

    ข้าพเจ้าบันทึกไว้เป็นสถิติน่ะค่ะ ท่านประธาน
    แต่ก็ไม่หวังจะให้ท่านทำลายสถิติแต่อย่างใด

    (แม้เค้าจะบอกไว้ว่าสถิติมีไว้เพื่อทำลายก็ตาม หุหุ)

    ขอให้คุณสวรรค์เสก สุขสันต์กับทุกวันของชีวิตเช่นกันนะคะ

    สุขสันต์วันที่เหมือนจะวุ่นวายค่ะ ^__^

  24. อือ ..

    ขอบคุณนะคะท่านรอง ฯ Z ที่ไม่ตั้งความหวังเอาไว้
    ถึงจะเป็นมาร แต่ข้าพเจ้าก็ใจดีไม่เคยคิดทำลาย “สถิติ” ใด ๆ ทั้งนั้น
    สงสารเค้าอ่ะค่ะ .. หุ หุ

    -มารดำ.-

  25. 5555+
    ใจดีจังค่ะท่าน
    แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คนที่จ้องจะทำลายสถิติ

    ท่านประธานไม่คิดจะช่วย “สถิติ” เค้าหน่อยหรีอคะ หุหุ

  26. บางครั้ง มารดำ ก็ใจดี
    แต่หลายทีก็เป็น มารดี เพราะใจดำ .. หุ หุ

    อ่า ..

    ข้าพเจ้ายังเอาตัวไม่รอดเลยอ่ะท่านรอง ฯ Z
    แล้วจะเอาปัญญาที่ไหนไปช่วย “คุณสถิติ” ได้ละคะ – -”
    รบกวนคุณออกแรงช่วยเค้าไปก่อนละกันค่ะ

    .
    .

    -ประธาน ฯ.-

  27. ถ้าจะให้ช่วย เห็นทีว่าต้องรีบนั่งเครื่องบินไปปักกิ่ง

    หากท่านไม่สะดวกที่จะไปเอง
    จะสมทบทุนเป็นค่าตั๋วเครื่องบินก็ได้นะคะ หุหุ

    ท่านลงทุน ข้าพเจ้าลงแรง ตกลงไหม :p

  28. 55555555555555555555555555555555555555555555
    55555555555555555555555555555555555555555555
    5555555555555555555555555555555555555555555+

    ร้ายกาจ !
    ร้ายกาจ !

    แม่นาง Z ช่างร้ายกาจ จี จี
    ข้าพเจ้าไม่นึกเลยว่าท่านจะมาเหนือฟ้าได้เยี่ยงนี้

    โปรดรับการคารวะจากข้าน้อยด้วยเถิด

    ตั๋วเครื่องร่อนไป-กลับ กำแพงเพชร-ปักกิ่ง ข้าพเจ้าจัดหาให้เรียบร้อยแล้ว
    ตอนนี้ฝากไว้กับ ท่านป๋าสอ ณ เมืองเบอร์มิ่งแฮมนะคะ
    เชิญท่านเดินทางไปรับด้วยตัวเองได้เลยค่ะ .. หุ หุ

  29. โอ้…ท่านประธานก็กล่าวเกินไป
    ผู้น้อยมิกล้ารับ มิกล้า มิกล้า

    อันว่าตั๋วเดินทาง กำแพงเพชร-ปักกิ่งนั้น
    ข้าพเจ้ายินดีไปรับด้วยตนเอง ณ เมืองเบอร์มิ่งแฮม

    แต่ตอนนี้วีซ่าเข้าอังกฤษของข้าพเจ้ายังไม่ผ่าน
    ขาดก็แต่สมุดบัญชีเงินฝาก รับรองฐานะทางการเงิน
    ท่านจะช่วยข้าพเจ้าก่อนได้หรือไม่ค่ะ ^__^

  30. หุหุหุ เห็นท่านประธานแอนด์ท่านรองฯ คุยกันได้คุยกันดีเป็นปี่เป็นขลุ่ย ไม่มีทีท่าว่าจะเป็นโรคสมองผูกความฮาแบบนี้ช่างเป็นที่น่ายินดีด้วย

    ดีๆๆๆ

    อ้อ ลืม สวัสดีวันสุกนะ

  31. วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 35 “หน้าที่ของพระ”

    .
    .

    ทุกครั้งเมื่อเกิดมีเรื่องราวอันเป็นภัยแก่พระศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่พระธรรมวินัย ท่านเจ้าคุณฯ จะไม่อยู่นิ่งเฉย ด้วยถือว่าป็นหน้าที่ของพระที่จะต้องปกป้องดูแล และรักษาพระศาสนาให้บริสุทธิ์มั่นคงสืบไป ท่านถือว่าการให้การศึกษาแก่ประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และท่านไม่ใช่พระฝ่ายบริหารเพื่อปกครอง ท่านจะทำงานเฉพาะด้านวิชาการ การสร้างความรู้ความเข้าใจ

    ลูกศิษย์หลายคนต่างวิตกไปว่า การที่ท่านก้าวออกมาแสดงบทบาทปกป้องพระธรรมวินัยอย่างเด่นชัดเช่นนี้จะเป็นการสร้างศัตรู หรือสร้างความแค้นให้คนที่ทำผิดเหล่านั้น เหล่าศิษย์จะเป็นห่วงท่าน แต่ท่านก็ยืนยันว่าเป็นหน้าที่ของท่านในฐานะพระภิกษุจะต้องชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่พุทธบริษัท

    ประเด็นเรื่องความสำคัญของการรักษาพระธรรมวินัยนี้ ท่านได้กล่าวชี้แจงไว้ในคำนำตอนหนึ่งของหนังสือเพื่อความเข้าใจปัญหาโพธิรักษ์ (หน้า 5) ดังนี้

    “พวกที่ทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ซึ่งทำลายต่อหลัการของพระพุทธศาสนาโดยตรง มักลอบทำการอย่างล้ำลึก หลอกให้คนตายใจได้ง่าย ถ้าไม่สังเกตหรือไม่รู้เท่าทันก็มองไม่เห็น จึงจำเป็นต้องเน้นในด้านการชี้แจง สร้างความรู้ความเข้าใจกันมากว่า เขาทำอะไรอยู่ และสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นความชั่วร้ายเสียหายอย่างไร

    ส่วนพวกประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย พฤติกรรมชั่วร้ายปรากฏออกมาภายนอก คนทั่วไปมองเห็นได้อยู่แล้วว่าเสียหาย ชั่วร้ายอย่างไร จึงไม่ต้องเสียเวลาชี้แจงอธิบายสร้างความรู้ความเข้าใจกันอีก แต่ก็ต้องเอาใจใส่ในแง่ที่ว่าจะช่วยกันกระตุ้นเร่งเร้าให้มีการจัดการแก้ไข

    อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาก็คือ จิตสำนึกและท่าทีแห่งความรู้สึกของชาวพุทธต่อพระพุทธศาสนา ชาวพุทธทุกคนจะต้องมีความรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นสมบัติร่วมกันของพุทธบริษัททุกคน จะต้องไม่มองเห็นตนเองเป็นคนนอก แล้วเข้าใจผิดว่า พระภิกษุเป็นตัวพระพุทธศาสนาหรือเป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา

    ยิ่งพระภิกษุประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย หรือทำพระธรรมวินัยให้วิปริตด้วยแล้ว ยิ่งไม่มิสิทธิ์เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนาได้เลย ถ้าเขามองเห็นพระพุทธศาสนาเป็นสมบัติที่มีค่าของเขาแล้ว เขาจะต้องไม่ทำกับพระพุทธศาสนาอย่างนั้น เขาเป็นคนร้ายที่ลักลอบทำลายสมบัติของชาวพุทธต่างหาก

    ชาวพุทธจะต้องมองว่าคนทั้งสองพวกนั้น เป็นคนร้ายที่แอบแฝงเข้ามาทำลายสมบัติส่วนรวมของชาวพุทธทุกคน ชาวพุทธต้องไม่ยกสมบัติคือพระพุทธศาสนา ให้แก่คนร้ายเหล่านั้นไปเสีย แต่จะต้องช่วยกันป้องกันแก้ไขขับไล่คนร้ายเหล่านั้นออกไป”.

  32. สวัสดีวันสุขค่ะ

    .

    ขอบคุณสำหรับวิถีปราชญ์นะคะท่านป๋าสอ
    ทั้งขอให้ท่านมี สุก ซุก สุข ด้วยค่ะ
    (( ถ้าสุกแล้ว จะอ่อนนุ่ม สุภาพ อ่อนโยน น่ารัก ))

    .
    .

    เรียน ท่านรอง ฯ Z ที่เคารพ

    บัญชีของท่านขาดอีกกี่ร้อยหรือเจ้าคะ ?
    ประเดี๋ยวข้าพเจ้าจะจัดการโอนไปให้เจ้าค่ะ

    .
    .

    สุขสันต์วันศุกร์จ้า ขอให้ยิ้มร่าอย่างมีความสุขนะคะ

    -จขบ.- 😀

  33. สวัสดีวันศุกร์ค่ะ

    เรียนท่านประธานที่เคารพยิ่ง

    ขอบพระคุณในความกรุณาของท่าน
    ไหนๆ ท่านประธานจะช่วยทั้งที เพียงหลักร้อยแค่นี้มีหรือจะคู่ควร
    ต้อกหกหลักขึ้นไปค่ะท่าน ^__^

    สวัสดีวันสุขค่ะท่านสิญจน์ สวรรค์เสก
    ขอให้ท่านสุกยิงๆ ขึ้นไปแล้วกันนะคะ ^__^

    สุขสันต์วันสุขค่ะ

    ปล.วันนี้กรรมกรงานเข้าตั้งแต่เช้าเลยตอกบัตรสายไปหน่อยนะคะ ^^”

  34. โอ๊ะ โอ๊ะ โอ๊ะ … โอ้ยยยย !!

    ข้าพเจ้ามิได้เป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่างหรอกค่ะท่านรอง ฯ
    ท่านอย่าได้ห่วงเรื่องความควรหรือมิควรเลยนะคะ

    หากไม่ยอมรับหลักร้อย
    ข้าพเจ้าก็ยินดีปล่อยหลักสิบให้ค่ะ หุ หุ

  35. หากท่านโอนเป็นหลักสิบมา
    เห็นทีจะไปได้ไม่เกินขอบจังหวัดค่ะท่าน – -”
    (ค่ารถรอบเมืองก็สิบห้าบาทเข้าไปแล้วอ่ะ)

  36. อืม .. จริงของคุณค่ะ

    อย่าว่าแต่ค่ารถเลยนะคะ
    แค่ค่าธรรมเนียมที่ถูกหักให้ธนาคารทุกครั้งที่การเงินเค้าโอนเงินเข้าบัญชี
    หรือโทษฐานที่กดเงินต่างแบงค์ ก็แพงขึ้นกว่าเคยเยอะเลยเนาะ

    (( ทั้งอำเภอมีอยู่ตู้เดียวจะให้ทำไง))

    .
    .

    ไป ๆ มา ๆ กว่าท่านรอง ฯ จะไปรับตั๋วเครื่องร่อนได้
    ข้าพเจ้าเกรงว่ามหกรรมกีฬาโอลิมปิกเค้าจะหมดฤดูกาลไปเสียก่อนอ่ะดิ
    เอาเป็นว่าเราปล่อย “คุณสถิติ” ไปตามยถากรรมละกัน

    ปะ ๆ ไปเข้านอนกันดีกว่านะคะท่านรอง ฯ Z
    นอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

    😀

  37. สวัสดีวันเสาร์น้าทุกโคน

    .

    ท่านประธานขอรับ

    ขอบคุณสำหรับปรัชญามะม่วงสุกนะขอรับ
    ผมจะพยายามทำตัวให้เหลืองๆ นิ่มๆ หอมๆ ดังท่านว่า

    ส่วน “ซุก” นั้น มีเรื่องสั้นและบทความซุกไว้จริงๆ นั่นแลขอรับ เอาไว้ให้โพสต์วิถีแห่งปราชญ์จบก่อนเน๊าะขอรับ แล้วค่อยเอามาเปิดเผยให้ได้อ่านด้วยกัน เพราะหากเปิดเผยในช่วงนี้ เกรงว่าจะมีแต่ตัวหนังสือเพี้ยนๆ ของเกล้ากระผ๊มกลบตัวหนังสือดีๆ ไปซะม๊ด

    .
    .

    ท่านรองฯ ที่เคารพยิ่ง

    อืม สงสัยท่านรองฯ จะยุ่งเป็นซังข้าวโพด วุ่นวายขายปลาหลิมเป็นแน่ ถึงได้ทำตัวสงบเสงี่ยมเจียมปากเจียมคอได้ถึงขนาดนี้

    ยังไงเสีย ขอให้หายวุ่นในเร็ววันนะขอรับ

    เพี้ยง!

  38. วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 36 “ฉันอาหาร”

    .
    .

    ท่านเจ้าคุณฯ เป็นผู้สังวรระวังในการ ขบฉันอยู่เสมอ สมกับความเป็นสมณะของท่าน คือ ท่านจะรักษาเสขิยวัตรทุกข้ออย่างเคร่งครัดจนดูเป็นปกติวิสัย เป็นธรรมชาติ มิได้แลดูเกร็งหรือเคร่งเครียดแต่อย่างใด

    ครั้งหนึ่งศิษย์คนหนึ่งนำผลไม้มาถวาย มี มะละกอ แคนตาลูป เป็นต้น เขาได้ปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นๆ กะขนาดพอคำ แต่พอนำไปถวายท่าน ก่อนที่จะฉัน ท่านจะใช้ส้อมหรือช้อนแบ่งผลไม้นั้นให้เล็กลงอีก ศิษย์คนนั้นสงสัยจึงไปถามศิษย์วัดคนหนึ่งว่า ทำไมท่านต้องทำเช่นนั้น ศิษย์วัดตอบว่า ท่านจะไม่ฉันอะไรที่คำโตเกินไปจนแก้มพอง เพราะจะผิดเสขิยวัตร

    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้มีน้ำใจต่อญาติโยมและศิษย์วัดเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าญาติโยมจะนำอาหารชนิดใดมาถวาย ท่านจะพยายามฉันอาหารนั้นเพื่อฉลองศรัทธา แม้บางครั้งจะเป็นอาหารที่ท่านไม่โปรด หรือไม่ถูกกับสุขภาพของท่าน เช่น อาหารที่รสจัดเกินไป หรือผลไม้บางอย่างที่มีกลิ่นรุนแรง เช่น ทุเรียน เป็นต้น

    ในขณะที่ฉัน ไม่ว่าจะฉันรวมกันกับเพื่อนบรรพชิต หรือฉันอยู่เพียงลำพัง ท่านก็จะใช้ช้อนกลางตักอาหารทุกครั้ง และจะใช้วิธีตักแบ่งอย่างระมัดระวังไม่ให้อาหารกระจุยกระจายเลอะเทอะ อาหารจำพวกผลไม้ เช่น มะม่วง กล้วย ท่านจะฝานเฉพาะส่วนที่จะฉัน ส่วนที่เหลือท่านจะปล่อยให้ติดเปลือกอยู่อย่างนั้น เพราะจะช่วยให้ผลไม้ส่วนนั้นดูสดกว่าที่ปอกเอาไว้

    เรื่องปลีกย่อยเหล่านี้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ท่านจะนึกถึงผู้อื่นด้วยเสมอ.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 37 “จีวร”

    .
    .

    ท่านเจ้าคุณฯ ห่มจีวรสีสด ญาติโยมบางคนเคยถามว่า ทำไมท่านจึงไม่ใช้จีวรสีกรักเหมือนที่พระสายวัดป่าชอบใช้ ท่านชี้แจงว่า ท่านไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสีของจีวรของท่าน แต่จะมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้คือ ถ้าสังกัดวัดใด ก็ใช้จีวรที่มีสีตามระเบียบของวัดให้เหมือนกับพระองค์อื่นๆ ในวัด

    ท่านเจ้าคุณฯ สังกัดอยู่วัดพระพิเรนทร์มาตั้งแต่เป็นเณรน้อย และที่วัดพระพิเรนทร์ พระในวัดจะใช้จีวรสีสดเป็นธรรมเนียมติดต่อกันมา ท่านก็ใช้ไปตามนั้น ปฏิบัติอย่างนี้มาโดยตลอด

    เรื่องการตากจีวร ท่านจะซักและตากจีวรไว้ในกุฏิในเวลากลางคืน โดยบิดหมาดแล้วสะบัดให้รอยยับคลาย จากนั้นก็ตากผึ่งให้ลมโกรก ไม่นานก็แห้ง เมื่อแห้งแล้ว ก็จะรีบเก็บมาใช้เลย ทำให้ไม่มีอาคันตุกะคนใดได้เห็นผ้าจีวรของท่านแขวนระเกะระกะในกุฏิเลย

    ท่านจะใช้จีวรทีละชุดเท่านั้น จีวรใหม่ที่ได้รับถวายจากญาติโยม ท่านจะถวายให้แก่พระภิกษุที่ขาดแคลนต่อไป ไม่เก็บสะสมไว้ หรือแม้แต่จีวรที่ท่านรับถวายมาสำหรับครองในงานพิธีต่างๆ ท่านจะเปลี่ยนทันทีที่งานเสร็จ แล้วพับเก็บใส่ถุงพลาสติกอย่างเรียบร้อยดูราวกับเป็นของใหม่ เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสมท่านก็จะถวายพระเณรรูปอื่นต่อไป โดยจะบอกให้ทราบก่อนว่า จีวรผืนนี้ท่านใช้ครองแล้วในงานพิธีนั้นๆ

    เรื่องไตรจีวรของพระนี้ ท่านพระครูปลัดปิฎกวัฒน์ (พระมหาอินศร จินตาปัญโญ) พระอุปัฏฐากของท่านเจ้าคุณฯ บันทึกไว้ในบทความเรื่อง “คบบัณฑิต” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของท่านที่มีกับท่านเจ้าคุณฯ ดังนี้

    “มีครั้งหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปชะอำกับท่าน ในตอนเช้าตรู่ของวันหนึ่ง ทั้งคณะได้ออกจากที่พักในเวลาที่ยังไม่รุ่งอรุณ ข้าพเจ้าไม่ทันได้สังเกตก่อนออก แต่พอสว่างขึ้นมามองเห็นว่า ท่านเจ้าคุณฯ มีสังฆาฏิพาดบ่า ข้าพเจ้าจึงได้สติขึ้นมาว่า อ้อ พระภิกษุจะไม่อยู่โดยปราศจากไตรจีวร ในตอนนั้นจะอ้างว่าได้รับอานิสงส์จำพรรษาและกฐินก็ไม่ได้แล้ว เพราะพ้นเขตไปแล้ว ตามสิกขาบทที่ 2 “ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ได้รับสมมติ (จีวรวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์)

    ครั้นกลับมาถึงที่พัก ข้าพเจ้าและหลวงลุงจึงต้องรีบเสียสละผ้าสังฆาฏิ และปลงอาบัติเพื่อทำให้ถูกต้อง”.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 38 “ตู้ยา”

    .
    .

    ดังที่ได้เล่าแล้วว่าท่านเจ้าคุณฯ มีสุขภาพไม่ดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะฉะนั้นท่านจะคุ้นเคยกับหมอและยาจำพวกต่างๆ มากมาย รวมไปถึงไวตามินนานาชนิดที่บรรดาญาติโยมนำมาถวาย แม้ท่านไม่ชอบฉันยาพร่ำเพรื่อ โดยเฉพาะพวกวิตามิน แต่ถ้าญาติโยมถวายมา ท่านก็จะฉลองศรัทธาฉันบ้างตามสมควร

    ท่านเจ้าคุณฯ จะจัดตู้ยาอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ยาจำพวกบาล์มสำหรับทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย อุปกรณ์ทำแผล ยาใส่แผลไว้พวกหนึ่ง ไวตามินไว้พวกหนึ่ง ยาแก้ปวดลดไข้ไว้พวกหนึ่ง จัดหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และถ้าเป็นยาที่อาจจะต้องใช้นานจะมีฉลากปิด เขียนบันทึกด้วยลายมือของท่านเองว่าเป็นยาอะไร ใครถวาย ถวายเมื่อไร.

  39. สวัสดีเช้าวันเสาร์ค่ะ

    .

    วันนี้ข้าพเจ้าเข้ามาแต่เช้า กว่าจะนั่งอ่านเรื่องที่ท่านป๋าเล่าจบก็สายพอดี
    ขอบคุณมากนะคะท่านป๋า

    อ้อ .. เรื่องที่ท่าน “ซุก” ไว้น่ะ
    ระวังจะแปลงร่างเป็น “สุกหง่อม” แทน “สุกงอม” นะคะ .. หุ หุ

    .
    .

    สุขสันต์วันสีม่วงจ้า
    -จขบ.- 😀

  40. สวัสดีสายๆ วันเสาร์ค่ะ

    ใช่แล้วค่ะท่านประธาน
    หลายๆ ธนาคารพากันขึ้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการเงินกันหมด
    ตอนนี้เจ้านายเลยหันมาใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตหลายรายการ
    ซึ่งค่าธรรมเนียมถูกกว่า ประหยัด และสะดวกกว่าค่ะ
    (ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย)

    ขอบคุณมากค่ะคุณสิญจน์ สวรรค์เสก
    ช่วงสองวันที่แล้วยุ่งพอประมาณค่ะ

    ว่าจะเล่าให้ท่านประธาน กับ ท่านสิญจน์ ฟังอยู่เหมือนกัน
    แต่ติดที่รอผลอยู่อ่ะค่ะ

    เนื่องด้วยมีมิจฉาชีพ แอบอ้างเป็นลูกค้าที่เปิดเครดิตไว้
    ว่าจะให้คนมารับสินค้า แต่เนื่องจากปกติต้องมีใบสั่งมา
    ทางเจ้านายเลยโทรไปเช็คกับทางบริษัทลูกค้าโดยตรง
    ปรากฏว่าเค้าไม่ได้สั่ง และแจ้งให้ทางเราทราบว่า
    เมื่อต้นเดือนเพิ่งมีคนมาแอบอ้างไปที่หนึ่ง โดนไปแสนสี่ – -”

    ทางร้านค้าที่โดนก่อนหน้าเลยประสานงานมาว่าให้เรา
    แกล้งปล่อยสินค้าไป เค้าจะนัดกับตำรวจให้สะกดรอยตามไป
    เพื่อหาคนบงการ (เพราะโดนไปหลายราย และบ่อยมาก)

    แต่เหมือนตอนนี้คนร้ายจะรู้ตัว จึงเจอแต่คนมารับของ
    แต่ไม่เจอคนบงการไม่รู้เรื่องจะเป็นไงเหมือนกันค่ะ

    เอ่อ..เล่าซะยาว ไปทำงานก่อนนะคะ

    สุขสันต์วันเสารค่ะ ^__^

  41. สวัสดีค่ะคุณ Z

    .

    โชคดีนะคะที่ทางคุณรอบคอบ ทำการตรวจสอบไปยังบริษัทโดยตรง
    เลยไม่ถูกมิจฉาชีพล้วงตับเอาได้

    เป็นข้อดีของการทำงานอย่างมีระบบ ทำตามระเบียบปฏิบัติ ไม่หละหลวมนั่นแหละค่ะ ต้องชื่นชมพนักงานนะคะนี่ ที่ป้องกันความเสียหายให้กับองค์กรได้

    สังคมเราก็เช่นกันค่ะ หากผู้คนในสังคมผิดชอบต่อหน้าที่ และทำตามกติกา ไม่มีคำว่าหยวน ๆ ไม่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ บ้านเมืองก็จะไม่บิดบี้ยว ไม่ถูกแทรกแซงโดยมิจฉาชีพหน้าไหนอย่างแน่นอน

    .

    ยังไงก็ขอให้จับคนร้ายได้นะคะ
    จะได้ไม่ไปทำความเดือดร้อนวุ่นวายในสังคมของเราอีก

    .
    .

    ขอให้สนุกกับงานค่ะ 😀

  42. ใช่ค่ะท่านโชคดีมากๆ ค่ะ
    เพราะพนักงานคนแรกที่รับโทรศัพท์เป็นเด็กใหม่
    ไม่สามารถตัดสินใจได้ เลยโอนสายให้เจ้านาย

    ซึ่งเจ้านายรอบคอบมากๆ เช็คข้อมูลเองเรียบร้อย
    เลยไม่พลาด เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก
    เป็นครั้งทีสองแล้ว แต่ครั้งแรกก็รอดตัวมาค่ะ

    ส่วนคนร้ายไหวตัวทันค่ะ วันนี้ทางเราเลยได้สินค้าคืนหมดแล้ว

    ขอให้อร่อยกับมื้อเที่ยงนะคะ ^__^

  43. ขอบคุณค่ะคุณ Z
    ตอนนี้กำลังละเลียดกาแฟร้อนถ้วยที่สองของวันอยู่พอดีเลยค่ะ

    ยินดีกับท่านรอง ฯ ด้วยนะคะที่ได้สินค้าคืนมาทั้งหมด
    แล้วฝากบอกเจ้านายให้โบนัสตัวเองด้วยนะคะ
    ไม่ต้องมากมายนักก็ได้ ให้น้ำหอมตัวเองสักขวดนึง
    ส่วนลูกน้องทองคนละสลึงก็พอค่ะ .. อิอิ

  44. ข้าพเจ้าจะลองเสนอเจ้านายดูนะคะ
    สำหรับเรื่องโบนัสของเจ้านาย

    ส่วนทองหนึ่งสลึงของลูกน้องนั้นไม่น่าจะผ่าน
    เพราะรวมๆ แล้วเกินมูลค่าสินค้าที่ได้คืนมาเยอะเลยค่ะ – -“

  45. อืม .. งั้นเอาใหม่ ๆ

    เปลี่ยนจากทองคำคนละสลึงเป็นทองคำเปลวคนละแผ่นละกันค่ะ
    ข้าพเจ้าว่าเงื่อนไขนี้เจ้านายท่านรอง ฯ Z น่าจะตกลงนะคะ
    555555+

  46. 555555+
    คาดว่าเจ้านายคงแถมให้ไปคนละสามแผ่นเลยล่ะค่ะ

    ว่าแต่งานยุ่งไหมคะท่าน
    ส่วนข้าพเจ้าน่ะ ตอนนี้กำลัง(ทำตัว)ว่างเลยค่ะ
    เพราะเพิ่งสะสางงานเสร็จไปหนึ่งล่ะ

    แต่ตอนนี้ฝนตก อารมณ์ในการทำงานเลยตกไปด้วย หุหุ

  47. ช่วงเช้าวุ่นวายนิดหน่อย แต่ตกบ่ายก็สบาย ๆ ไม่ยุ่งแล้วค่ะ
    เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ

    .
    .

    แล้วอารมณ์ ฯ ของคุณไปมัดไว้กะฝนเค้าทำไมละนั่น
    อย่างนี้อารมณ์ก็ตกมันทั้งปีกันพอดี ฝนที่ไหนเค้าลอยขึ้นฟ้ากันคะ

    เดี๊ยะ ๆ ๆ
    เดี๋ยวลดระดับให้เป็นมารฝึกหัดซะหรอก .. หุ หุ

    .
    .

    บ่นว่างไม่ทันขาดคำ สาว ๆ ในวอร์ดโทรมาตามตัวแล้วค่ะ – -”
    ข้าพเจ้าขอตัวก่อนนะคะท่าน ไปละ

    แว๊บ ๆ แว๊บบบบบบบบบ ..

    -มารดำ.-

  48. เอ่อ…ขออภัยค่ะท่านมารดำ
    ข้าน้อยผิดไปแล้วโปรดอภัยด้วยค่ะ -*-

    ตอนนี้ข้าพเจ้าก็ทำตัวว่างเช่นเดิม
    แต่ก็เคลียร์งานไปได้อีกหนึ่ง
    เหมือนว่าวันนี้จะได้งานแบบเนื้อๆ เยอะกว่าทุกวันนะเนี่ย

    ข้าพเจ้าก็กำลังจะสรุปงานของวันนี้เหมือนกันค่ะ
    ไปทำงานก่อนนะคะ เดี๋ยวก็จะเลิกงานแล้ว ^__^

  49. ดีมากค่ะท่านรอง ฯ Z
    ได้น้ำได้เนื้อแบบนี้สิค่อยสมราคานางมารหน่อย .. อิอิ

    ตอนนี้หมดเวลางานของข้าพเจ้าละ ขอตัวไปก่อนนะคะ
    ได้เวลาทำอาหารมื้อเย็นแล้วด้วยค่ะ ช้ากว่านี้ตลาดจะวายเอา
    มารดำไปก่อนน๊า

    .
    .

    สู้ ๆ ค่ะ 😀

  50. วันนี้ลูกค้าน้อย
    ข้าพเจ้าเลยมีโอกาสได้เคลียร์งานที่สะสมไว้น่ะค่ะ

    ตอนนี้ก็หมดเวลาของข้าพเจ้าแล้วเช่นกัน
    มีความสุขกับการ ทำ และ ทาน อาหารเย็นนะคะ ^__^

  51. ขอบคุณค่ะท่านรอง ฯ Z

    เย็นนี้มีน้ำพริกกะปิ ไข่เจียวชะอม ผักบุ้งไฟแดง แล้วก็ ผัดหัวไชโป้วค่ะ
    (( ไม่ได้ถามแต่อยากนำเหนออ่ะ อิอิ ))
    ข้าพเจ้าหม่ำเผื่อท่านตั้งหลายคำเลยนะคะ
    อิ๊ม อิ่มค่ะ 55555+

    .
    .

    ตอนนี้กำลังนั่งอยู่หน้าจอทีวี ดูมวยโอลิมปิกอยู่ค่ะ
    มาเชียร์ด้วยกันไหมคะ นักชกไทยกำลังชกอยู่พอดีเลย
    เร็ว เร้ว มาเชียร์ไทยด้วยกันค่ะ

    แพ้ ชนะไม่เป็นไร ขอให้มีน้ำใจนักกีฬา .. โย่ว !!

  52. อ่า…วันนี้มีน้ำพริกะปิเหมือนกันเลยค่ะ
    แต่นอกเหนือจากนั้นไม่มี – -”

    และขอบพระุคุณที่ทานเผื่อนะคะ
    มิน่าล่ะข้าพเจ้าก็อิ่มเหมือนกัน หุหุ

    ส่วนนักชกไทยนั้นทำดีที่สุดแล้วค่ะ
    แข่งครั้งหน้าก็ยังเชียร์เหมือนเดิม ^__^

  53. ผักมันขึ้นอยู่ริมรั้วบ้านอยู่แล้วน่ะค่ะ
    อยากชูช่อสวยดีนัก ข้าพเจ้าก็เลยเก็บมาทำอาหารซะเลย .. สม !

    .
    .

    มวยคู่ที่ผ่านมาถึงแพ้ แต่นักชกเค้าทำดีที่สุดแล้วอย่างที่คุณว่านั่นแหละค่ะ
    คนนี้แพ้ แต่ยังมีนักกีฬาให้เราเชียร์ต่อเนาะ

    คนไทยสู้ ๆ .. โย่ว !

    ก่อนที่จะไปเชียร์นักกีฬา ข้าพเจ้าขอไปนอนพักเอาแรงก่อนนะคะ
    นอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

    😀

  54. สวัสดีวันอาทิตย์สีแด๊ง แดง ขอรับทุกท่าน

    .

    วุ้ย! คุยกันได้คุยกันดีเน๊าะขอรับ

    ไล่เรียงมาตั้งแต่ของหาย
    กลายมาเป็นรางวัลน้ำหอม
    ยอมรับได้แม้แต่ทองคำเปลว
    คนเลวๆ สมควรถูกจับ
    กลับตารปัดฝนตกขึ้นฟ้า
    ว้า! มวยแพ้
    แน่ะ! น้ำพริกกะปิ
    ชิ! ชะอมทอดไข่
    ไหน? ผักบุ้งไฟแดง
    แรง…ก็จวนจะหมด
    ตด…ใต้ผ้าห่มฝันดี
    ดี…กะผีนะดี้!

    😆

  55. วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 39 “ใช้สิ่งของให้ได้ประโยชน์ที่สุด”

    .
    .

    ท่านเจ้าคุณจะใช้สบู่ทุกก้อนให้ได้ประโยชน์ที่สุด คือ ใช้เกลี้ยงไม่เหลือเลย เมื่อสบู่เหลือก้อนเล็กมากจับไม่ติดแล้ว ท่านก็จะนำมารวมกับก้อนใหม่แล้วใช้ต่อไปจนสบู่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อจะหมดก้อนก็ทำเช่นนี้เรื่อยไป

    ยาสีฟันก็เช่นกัน ท่านก็รีดเสียจนหมดเกลี้ยงหลอดแล้วค่อยทิ้งไป

    ถ่านไฟที่ใช้กับเครื่องบันทึกเสียงก็เช่นเดียวกัน เช่น เมื่อเอาออกจากเครื่องแล้วก็เอามาใส่กระบะเล็กๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นไฟฉายใช้ต่อไป ที่ทำอย่างนี้ท่านบอกว่า ไม่ใช่มุ่งที่ประหยัด แต่เป็นการทดสอบความสามารถของท่านเองว่าจะทำให้ถ่านไฟเหล่านั้น เป็นประโยชน์ได้จนถึงที่สุดอย่างไร.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 40 “ตู้หนังสือ”

    .
    .

    เนื่องจากท่านเจ้าคุณฯ มีหนังสือมาก โดยเฉพาะพวกตำรับตำรา คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ตู้หนังสือจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับท่าน ตอนที่ทำกุฏิใหม่ที่วัดญาณเวศกวัน ท่านจะออกแบบตู้หนังสือเอง ให้ใช้เนื้อที่ในกุฏิได้มากที่สุด และให้ปรับชั้นหนังสือได้ เพื่อจัดหนังสือขนาดต่างๆ ให้พอดีไม่มีช่องว่างเหลือให้เปลืองเนื้อที่ และฝุ่นละอองเข้าจับได้

    เมื่อครั้งอยู่วัดพระพิเรนทร์ หนังสือบางชุดสูงเกินไปเข้าชั้นไม่ได้ ท่านก็ได้ส่งหนังสือจำพวกปกอ่อนไปตัดที่โรงพิมพ์ให้มีขนาดเข้าตู้ได้พอดี ตู้หนังสือของท่านจึงดูเป็นระเบียบมาก.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 41 “ครูรัก หรือไม่ก็รักมาก”

    .
    .

    คุณบุปผา คณิตกุล น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับท่าน ได้เขียนเรื่องเกร็ดชีวิตไว้ในหนังสือ ป.อ.ปยุตโต มีความตอนหนึ่งว่า “พระธรรมปิฎก(ยศขณะนั้น)ในวัยเยาว์ เรียบร้อยทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กรุ่นเดียวกันและต่างรุ่น เป็นที่รักของครูอาจารย์และเพื่อนๆ มาก…”

    ดร.อาภา จันทรสกุล ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้บันทึกไว้ในหนังสือชีวประวัติของพระธรรมปิฎกว่า “เมื่อเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่ครูรัก หรือไม่ก็รักมาก”

    ข้อความเหล่านี้ ทำให้ศิษย์ก้นกุฏิคนหนึ่งกราบเรียนถามถึงที่มาว่า เป็นอย่างไร ทำไมจึงเป็นเด็กที่ครูอาจารย์รักเป็นพิเศษ

    ท่านตอบว่า “ อาตมาก็ไม่ทราบ เท่าที่รู้ก็คือ อาตมาคงจะมีธรรมชาติเป็นคนมีเหตุผลมาตั้งแต่เด็ก มักจะคิดก่อนทำ รู้ว่าเป็นเด็กมีหน้าที่เรียนหนังสือก็ตั้งใจเรียน พอมาบวชเณร ก็รู้ตัวว่าเป็นเณรแล้ว ควรจะประพฤติตนให้เป็นแบบเณร เคยมีพระผู้ใหญ่มาถามเหมือนกันว่า ทำไมไม่ไปวิ่งเล่นซุกซนเหมือนกันเณรอื่นๆ เป็นเพราะไม่สบายหรือ อาตมาจำไม่ได้ว่าตอบไปว่ายังไง ก็คงจะเป็นทำนองเออออไปตามนั้น แต่จริงๆ แล้ว เป็นเพราะอาตมารู้สึกว่าไม่เหมาะสม”

    ศิษย์คนนั้นถามต่อไปว่า “ที่ว่าครูรักมาก ครูแสดงอย่างไรคะ”

    ท่านนิ่งไปพักหนึ่งแล้วเล่าว่า “เวลาปิดเทอม ต้องแยกจากกัน ครูบางท่านร้องไห้ โดยเฉพาะครูที่เป็นนิสิตฝึกสอนจากวิทยาลัยครูในกรุงเทพฯ”

    “ท่านได้พบครูคนนั้นอีกหรือไม่คะ แล้วครูทราบหรือไม่ว่า เด็กคนนั้นได้เติบโตมาเป็นพระธรรมปิฎก”

    “ไม่ได้พบอีกเลย อาตมาจำได้ว่าเคยเห็นครูครั้งหนึ่งที่ร้านอาหารตรงข้ามวัดราชบพิธฯ สมัยที่อาตมาเรียนอยู่ที่มหาจุฬาฯ อาตมาอยู่บนรถรางเลยไปทักทายไม่ได้ รถรางวิ่งผ่านไปก่อน จากนั้นมาก็ไม่ได้เห็นกันอีกเลย”.

    .
    .
    .
    .

    วิถีแห่งปราชญ์ ตอนที่ 42 “ปริญญาบัตร”

    .
    .

    ท่านเจ้าคุณฯ ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่ง เช่น

    พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตฯ จากจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตฯ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตฯ (หลักสูตรการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตฯ (ศึกษาศาสตร์การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    อักษรศาสตร์ดุษฎบัณฑิตฯ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตฯ (ภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล

    การศึกษาดุษฎีบัณฑิตฯ (ปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)

    ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตฯ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

    ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตฯ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    และนับวัน ดูเหมือนท่านเจ้าคุณฯ จะได้รับการถวายปริญญาบัตรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ท่านไม่เคยนำปริญญาบัตรทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น รวมไปถึงรูปถ่ายของท่านในงานพิธีกรรมสำคัญต่างๆ แม้แต่สักใบเดียว ไปใส่กรอบแล้วนำมาแขวนประดับกุฏิ

    พวกปริญญาบัตรท่านจะรวบรวมใส่ไว้ในแฟ้มแล้วนำไปวางอย่างสงบนิ่งปราศจากการถูกรบกวนในตู้หนังสือของท่าน

    รูปก็เช่นกัน ท่านจะเก็บใส่สมุดภาพเอาไว้ในตู้ หากเป็นรูปที่มีผู้ใส่กรอบนำมาถวาย ท่านจะห่อกระดาษแล้วเก็บเข้าตู้ไปด้วย.

  56. อรุณสวัสดิ์วันอาทิตย์ค่ะ
    เรียนท่านประธาน
    นักมวยรู้สึกวันนี้จะมีมนัส ลงแข่งอีกคนนะคะ
    ไว้รอเชียร์กันค่ะ ^__^

    คุณสิญจน์ สวรรค์เสก
    ขอบคุณสำหรับวิถีแห่งปราชญ์ ด้วยค่ะ
    ไม่น่าเชื่อเผลอแป๊บเดียวสี่สิบสองตอนแล้ว ^__^

    สุขสันต์วันอาทิตย์สดใสค่ะ

  57. สวัสดีค่ะคุณสิญจน์ และ คุณ Z2you

    .

    วันนี้จะมีมวยให้ดูกี่โมงหรือคะท่านรอง ฯ ?
    ตั้งแต่ลืมตาตอนเช้าข้าพเจ้ามัวแต่เป็นคุณแจ๋วจนไม่ทันนั่งดูข่าวน่ะค่ะ

    .
    .

    ขอบคุณสำหรับวิถีแห่งปราญช์ท่านป๋าสอ
    และขอบคุณที่ช่วยสรุปการสนทนาของสองมารด้วยนะคะ

    ตะ ..
    ตะ ..
    แต่ .. ว่า ..

    ป๋าไม่เอา “ผี” มายุ่งจะได้ไหม .. ฮึ !!

    ฮ่วย (( หนอง คลอง บึง ))

    .
    .

    สุขสันต์วันอาทิตย์จ้า ขอให้คนบ้าสำราญกับชีวิตนะคะ
    😀

  58. วันนี้จะมีมวยสากลรุ่นไลต์เวเตอร์เวต
    รอบแปดคนสุดท้าย (ชิงเหร๊ยญทองแดง)

    ระหว่างมนัส บุญจำนงค์ กับ เซริก ยาพิเยฟ (คาซัคสถาน)
    เวลาประมาณ 18.00 น.
    ช่อง 5 และ NBT ถ่ายทอดสดค่ะ

  59. รับทราบค่ะท่านรอง ฯ Z
    ขอบคุณหลาย ๆ นะคะ สำหรับคำตอบ 😀

Leave a reply to z2you Cancel reply